สรุปการแนะแนว

ในปี ค.ศ.1911 มีการเคลื่อนไหวการแนะแนวที่สำคัญในโรงเรียนในเมืองซินซินเนติ มลรัฐ โอไฮโอ แฟรงค์ พี.กูดวิน (Frank P. Goodwin) ได้สนับสนุนให้โรงเรียนริเริ่มจัดบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียนซึ่งทำให้วงการแนะแนวมีพัฒนาการในด้านต่างๆคือ

1.จัดให้มีระเบียนประจำตัวนักเรียน

2.สอนให้นักเรียนสนใจเรื่องอาชีพไปด้วย ในขณะที่เรียนวิชาสามัญอยู่

3.สอนให้รู้ลักษณะของอาชีพประเภทต่างๆ และคุณสมบัติที่จะทำให้การประกอบอาชีพนั้นเจริญก้าวหน้า

4.ใหรู้จักสถาบันที่ให้การศึกษาวิชาชีพต่างๆรวมทั้งมหาวิทยาลัยด้วย

5.จัดให้มีการปรับปรุงหลักสูตรในโรงเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับการไปประกอบอาชีพหรือศึกษาวิชาชีพต่อไป

แฟรงค์ พี กูดวิน สนใจกับงานนี้มากและพยายามติดตามศึกษาข้อเท็จจริงอย่างขะมักเขม้นและได้พยายามขจัดปัญหาที่ได้พบเห็น และได้สรุปข้อสังเกตประสบการณ์ได้ดังนี้

1.การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่แนะแนวไว้ โดยไม่อาจมีเวลามาทำงานด้านนี้ไม่เกิดผลทางการปฏิบัติ

2.ครูที่มีน้ำใจและสนใจศิษย์เท่านั้นที่ทำงานแนะแนวได้ผล

3.การเข้าใจนักเรียนผิดๆทำให้การแนะแนวผิดไปด้วย

4.ครูที่มีความรู้ทางการสอนด้านวิชาการมาก แต่ขาดความรอบรู้ในเรื่องอาชีพภายนอก ไม่อาจเป็นครู แนะแนวอาชีพที่ดีได้

จากข้อสังเกตของ แฟรงค์ พี.กูดวิน กระตุ้นให้บุคคลหลายฝ่ายที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการรอบรู้เรื่องอาชีพของครูแนะแนว จนกระทั่งในปีค.ศ.1913จึงมีผู้จัดตั้งแหล่งข่าวสารการอาชีพขึ้นในนครบอสตัน เรียกว่า หน่วยข่าวสารการอาชีพ (The Vacational Information Department) ซึ่งเป็นศูนย์ผลิตเอกสารตามอาชีพส่งไปยังโรงเรียนต่างๆ ทำให้ครูมีโอกาสศึกษาความรู้เรื่องอาชีพ เพื่อแนะแนวทางเด็กได้ง่ายขึ้นและเห็นประโยชน์ของบริการนี้มาก จนทำให้สภาการค้าแห่งเมืองบอสตัน (The Boston Chamber of Commerce) ตกลงใจสนับสนุนกิจการนี้สภาการค้าแห่งเมืองบอสตันดังนี้ ได้มีบทบาทส่งเสริมงานแนะแนวมาก กล่าวคือได้ออกเงินทุนให้จัดการประชุมเรื่องการแนะแนวอาชีพระดับชาติ ขึ้นในปีค.ศ.1910 ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา และจากผลการประชุมครั้งนี้ทำให้สามารถจัดตั้งสามคมแนะแนวอาชีพแห่งชาติ (Thenational Vocational Guidance Association)ขึ้นได้ ซึ่งเป็นผลทำให้มีการประชุมในครั้งต่อๆไปอีกคือ

ปีค.ศ.1912 ประชุมเรื่องการแนะแนวอาชีพในระดับชาติเป็นครั้งที่สอง ณ นครนิวยอร์ก จากผลการประชุมครั้งนี้ ได้วางแผนการจัดตั้งองค์การแนะแนวอาชีพแห่งชาติขึ้นมาและ

ปีค.ศ.1913 ได้ประชุมร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวและแต่งตั้งคณะกรรมการการบริหารองค์การการแนะแนวอาชีพแห่งชาติขึ้น

ในปีเดียวกันนี้ ที่นครซินซิเนติ มลรัฐโอไฮโอ ได้มีโครงการการแนะแนวอาชีพขึ้นในโรงเรียนใหญ่ๆ โดยมีเงื่อนไขหกข้อ ซึ่งโรงเรียนเหล่านั้นถือปฏิบัติกันคือ

1.จะต้องมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน และให้มีเวลาทำการนิเทศการแนะแนวด้วย

2.ในแต่ละโรงเรียนจะต้องมีครูทำหน้าที่แนะแนวให้นักเรียนอย่างน้อย1คน

3.ครูแนะแนวต้อองเป็นผู้เฉลียวฉลาดและเห็นอกเห็นใจนักเรียน พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียน

4.จะต้องมีการวิเคราะห์อุปนิสัยใจคอของนักเรียนแต่ละคน คือให้มีการศึกษารายละเอียดของนักเรียนแต่ละคนนั่นเอง

5.จุดประสงค์ประการหนึ่งของโรงเรียนคือ การรับภาระในการเตรียมตัวนักเรียนให้มีอาชีพในภายหน้า

6.ควรมีการจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการอาชีพของบุคคลนั้นๆ

จะเห็นว่าในระยะนี้การแนะแนวอาชีพเจริญมากขึ้นและเริ่มมีการวางหลักการกฎเกณฑ์เพื่อให้สะดวกในเชิงปฏิบัติได้มากขึ้น ในปีค.ศ.1914 เริ่มตื่นตัวในด้านการช่วยเหลือนักเรียนทางการศึกษามากขึ้น ทรูเมน แอล เคลเลย์ (Truman L. Kelley)ได้บัญญัติ “การแนะแนวการศึกษา”(Educational Guidance) ขึ้นโดยให้ความหมายว่า การแนะแนวการศึกษาคือ การให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกวิชาและการปรับตัวในโรงเรียน ดังนั้นในระยะนี้งานแนะแนวจะขยายขอบข่ายที่กว้างขวางออกไปจากการแนะแนวอาชีพไปอีกด้านหนึ่ง จนกระทั่งปี 1920 วิลเลี่ยม เอ็มพรอคเตอร์ (William M.Proctor) ได้เน้นว่าการแนะแนวมีขอบข่ายที่กว้างขวางกว่าการแนะแนวการศึกษาการแนะแนวอาชีพ โดยรวมถึงการช่วยเหลือนักเรียนเกี่ยวกับการปรับตัวในชีวิตด้วย

อย่างไรก็ตามมีการตื่นตัวในทางการแนะแนวอาชีพกันมากเพราะปัญหาทางอาชีพเป็นปัญหาเร่งด่วนและเห็นได้ชัดเจนกว่า และการจัดบริการแนะแนวอาชีพทั้งในรูปแบบการบริการสังคมและบริการในโรงเรียนนี้ก็ประสบปัญหาหลายๆอย่าง เช่น ฝ่ายบริหารยังลังเลไม่ให้ความสนับสนุน เทคนิคและอุปกรณ์ในการดำเนินงานยังขาดคุณภาพ เป็นต้น จนกระทั่งในปี ค.ศ.1933ได้มีการประชุมระดับชาติเพื่อศึกษาค้นคว้าปัญหาอาชีพ ซึ่งเรียกการประชุมครั้งนี้ว่า The National Occupationl Conference และผลจากการประชุมครั้งนี้ทำให้มีการจัดตั้งหน่วยผลิตนิตยสาร “ดัชนีอาชีพ” (Occupationl Index) ขึ้นเพื่อแนะนำหนังสือเอกสารต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่การแนะแนว และยังได้ผลิตหนังสือเกี่ยวกับวิชาการแนะแนวออกเผยแพร่ด้วย ในปีค.ศ. 1932 จอน เอ็ม บรีเวอร์ (Jone M. Brewer) ก็ได้จัดหลักสูตรการผลิตผู้แนะแนวขึ้นในมหาวิทยาลัยฮาร์วาด และระหว่างนั้นก็มีสถาบันหลายห่งผลิตผู้ให้คำปรึกษา (Counselor) และผู้ทำงานแนะแนว (guldance worker) เป็นจำนวนมากเพื่อสนองความต้องการแก่องค์กรและสมาคมต่างๆที่ให้บริการแนะแนวซึ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในที่สุดหลังจากที่หลักการและวิธีการปฏิบัติของการแนะแนวอาชีพแพร่หลายมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาคณะกรรมาธิการการศึกษาระดับชาติก็เริ่มมองเห็นความสำคัญ พอปีค.ศ.1938 ก็ได้เสนอให้รัฐบาลกลาง (Federal Government) จัดสรรงบประมาณช่วยการอาชีวศึกษาให้มากขึ้น และได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นยในการจัดบริการแนะแนวอาชีพโดยทำหน้าที่ให้ความรู้เรื่องการอาชีพทั้งในระดับรัฐและระดับท้องถิ่น เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดของงานอาชีพใหญ่ๆจำนวณคนงานที่ต้องการในปีหนึ่งๆรวมทั้งมีสถานผลิตคนในอาชีพต่างๆเป็นจำนวนเท่าใดเป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ย้ำให้จัดบริการแนะแนวและจัดหางานโดยประสานงานกับบริษัทห้างร้านโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆจากข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการศึกษาชุดนี้ทำให้มีการจัดตั้งหน่วยบริการแนะแนวการอาชีพ (Occupationl Outlook Service) ขึ้นในการอบรมแรงงาน (Departmemt of Labour) ในค.ศ.1940

ในปีเดียวกันนี้ กระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐ (U.S Office of Education) ได้จัดตั้งหน่วยบริการข่าวสารและการแนะแนวอาชีพ (Occupational Information and Guidance Service) โดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลกลางซึ่งจัดสรรให้โดยอาศัยกฎหมายชื่อ George-DeeAct ซึ่งเดิมจัดสรรเพื่อการอาชีวศศึกษาเท่านั้น แต่ต่อมาได้มีการแปรยัตติให้กว้างไปถึงการใช้งบประมาณเพื่อการแนะแนวด้วยเป็นการเปิดช่องทางให้แก่มลรัฐต่างๆเช่นนี้ ทำให้อุปสรรคทางด้านเงินทุนในการจัดบรการแนะแนวลดลง ประกอบกับมหาวิทยาลัยต่างๆเริ่มจัดสอนวิชาการแนะแนวมากขึ้น ทำให้วิชาการแนะแนวเป็นที่เข้าใจของผู้บริหารและบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง มีผู้ทำงานแนะแนวที่มีประสิทธิภาพสูง อุปสรรคปัญหาต่างๆที่เคยมีก็ลดลงไปได้มากขึ้น นอกจากนี้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆทำให้มีการปรับปรุงและพัฒนากลวิธีต่างๆในการแนะแนวให้เป็นวิทยาศาตร์และเชื่อถือได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริการการปรึกษาได้พัฒนาไปมาก จนปัจจุบันถือว่าเป็นหัวใจของบริการแนะแนว ผู้แนะแนวที่มีคุณภาพจะต้องได้รับการฝึกฝนเรื่องการให้บริการการปรึกษาอย่างดี อย่างไรก็ตามบริการอื่นๆของการแนะแนวก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นไปเป็นลำดับเช่นกัน และขอบข่ายของการแนะแนวก็กว้างขวางขึ้น โดยถือว่าการแนะแนวเป็นกระบวนการรวมและเป็นการแนะแนวชีวิต ปัจจุบันนี้ได้มีองค์การทางอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนวที่สำคัญๆในอเมริกาหลายองคาร องค์การเหล่านี้ออกวารสารที่เกี่ยวกับการแนะแนวด้วย องค์การที่สำคัญแก่

1. The American Personnel and Guidance Association (APGA) สมาคมนี้เป็นสมาคมแนะแนวที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ได้ออกวารสารชื่อ Placement Service Bulletin และ The Personnel and Guidance Joural

1.1American College Personnel Association (ACPA) สมาคมนี้ออกวารสารชื่อ Journal of Colleg Student Personnel

1.2Association for Counselor Education and Supervision (ACES) มาคมนี้ออกวารสารชื่อ Counselor Education and Supervision

1.3National Vacational Guidance Association (NVGA) สมาคมนี้ออกวารสารชื่อ Vacational Guidance Quarterly

1.4Student Personnel Association for Teacher Education (SPATE) ออกวารสารชื่อ SPATE Journal

1.5 American School Counselor Association (ASCA)สมาคมนี้ออกหนังสือชื่อ School Conselor

1.6 American Rehablitation Counselor American Rehablitation Counseling Association (ARCA)สมาคมนี้ออกวารสารชื่อ Rehablitation Counseling Bulletin

1.7Association for Measurement and Evaluation of Guidance(AMEG)

1.8 National Employment Counselor Association (NECA) สมาคมนี้ออกวารสารชื่อ Journal of Employment Counseling

2. The American Psychological Association (APA) ได้มี Devision of Counseling Psychology ชึ่งเป็น Dvtision ที่ 17 ของ APA ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการแนะแนวออกวารสารชื่อ The Journal of Counseling Psychology

3.The National Education Association (NEA) สมาคมนี้เป็นสมาคมหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้การแนะแนวเจริญขึ้นเป็นอย่างยิ่ง

สิ่งที่ช่วยให้เกิดการแนะแนวในสหรัฐอเมริกาเจริญรุ่งเรืองขึ้น

1.การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิต ของคนในสังคมและสภาวะทางเศรษฐกิจเป็นอันมากกล่าวคือ มีการอพยพเข้าเมืองเพื่อหางานทำกันมาก ทำให้ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเล็กอยู่กันลำพัง พ่อแม่และลูก สภาพของที่พักพอที่จะหาได้สำหรับครอบครัวก็เป็นที่พักชั่วคราวมีลักษณะเป็นสลัม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาเงินมาสร้างฐานะของครอบครัวให้ดีขึ้นประกอบกับการมีเครื่องจักรทำงานหนักแรงงานผู้หญิงและเด็กจึงเป็นที่ต้องการ แม่และลูกก็โตๆจำต้องออกไปหางานนอกบ้านช่วยพ่อแม่อีกแรงหนึ่ง ลูกเล็กๆถูกขังให้อยู่กับบ้านขาดความอบอุ่นและการอบรมอย่างใกล้ชิด อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมายตามมา ในด้านตลาดงานก็มีการแข่งขันกันเข้าทำงานสูงขึ้น อัตราค่าแรงงานที่ได้ก็ต่ำลงจำนวนคนว่างงานก็เพิ่มขึ้น สิ่งต่างๆเหล่านี้กระตุ้นให้นักสังคมสงเคราะห์และบุคคลในวงการต่างๆมีความสำนึกในเรื่องมนุษยธรรมสูง คิดหาวิธีทางที่จะชช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ในเรื่องของการอาชีพ การแก้ปัญหาชีวิตการปรับปรุงบุคลิกภาพเพื่อให้ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม

2.ความเจริญทางด้านวิทยาการต่างๆที่เป็นพื้นฐานของวิชาการแนะแนวได้แก่

2.1ความเจริญทางด้านจิตวิทยา ระยะนี้จิตวิทยากำลังเจริญมาก มีหลักและวิธีการที่ได้ผลแน่นอนขึ้น อุปกรณ์ในการศึกษาบุคคลมีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งมีวิธีการส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพที่ได้ผลดีอีกด้วย

2.2ความเจริญทางสังคมศาสตร์ (Social Science) กำลังก้าวหน้ามีการศึกษาค้นคว้าและวิจัยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อบุคคลทั้งวัยผู้ใหญ่และวัยเด็ก มีการจัดตั้งสถาบันการค้นคว้าเรื่องเด็กขึ้น (Child-study Institute) ผลการค้นคว้าเหล่านี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่งานแนะแนวเป็นอย่างยิ่ง

2.3ความเจริญทางวิชาสุขวิทยาจิต (Meental Hygiene) ทำให้เห็นความสำคัญของการช่วยป้องกันให้นักเรียนประสบกับปัญหาน้อยที่สุด และรู้วิธีที่จะแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่อย่างเหมาะสม รวมทั้งปรับสภาวะจิตใจของตนให้ทันกับสภาพการณ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ขอบข่ายของงานการแนะแนวขยายออกไปจากการแนะแนวขยายออกไปจากการแนะแนวอาชีพไปสู่การแนะแนวชีวิตเร็วที่สุด

2.4 พัฒนาการทดสอบและการผลิตแบบทดสอบมาตรฐาน มีนักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้สนใจค้นคว้าวิธีการทดสอบและสร้างแบบทดสอบที่ดีและมีคุณภาพกันอย่างกว้างขวางทำให้มีวิธีการทดสอบและสร้างแบบทดสอบที่ดีและมีคุณภาพกันอย่างกว้างขวางทำให้มีวิธีการทดสอบที่เชื่อถือกันได้มากขึ้น และมีแบบทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพสามารถวัดความถนัดเชาน์ปัญญา ผลสัมฤทธิ์และบุคลิกภาพด้านอื่นๆเป็นจำนวนมากสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแนะแนวได้เป็นอย่างดียิ่ง

3. การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ในระยะนี้รัฐบาลและประชาชนมองเห็นว่า การศึกษาเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับทุกคน ไม่ใช่เรื่องของคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยดังที่เคยเข้าใจมา จำนวนนักเรียนในระดับมัธยมจึงทวีมากขึ้น และนักเรียนเหล่านี้ต่างก็จะต้องตัดสินใจเลือกทางชีวิตของตนว่าจะเรียนต่อมหาวิทยาลัย หรืออกไปประกอบอาชีพ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความต้องการการแนะแนวที่มีประสิทธิภาพขึ้นเพื่อช่วยให้เยาวชนเลือกตัดสินใจทางที่เหมาะสมกับตนมากที่สุด ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆที่มากขึ้น โรงเรียนจึงต้องจัดสอนหลายวิชาเพื่อให้นักเรียนเลือกตามความสนใจและตามความถนัด เหล่านี้ต่างเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ความต้องการการแนะแนวเพิ่มสูงขึ้น

ประวัติการแนะแนวในประเทศไทย

ถ้าพิจารณาประวัติการศึกษาไทยจะเห็นว่า แนวคิดทำนองการแนะแนวอาชีพนั้นมีมาช้านานแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 ที่ได้มีการประชุมผู้บริหารการศึกษาของประเทศไทยที่กระทรวงธรรมการ โดยมีเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีเป็นประธาน การประชุมครั้งนั้นได้เน้นถึงหน้าที่สำคัญของโรงเรียนว่ามี “…การหัดให้นักเรียนเป็นคนดี มีวิชาการทำมาหากิน เมื่อโตขึ้นก็ให้สามารถเลี้ยงตนเองได้” และการมุ่งสอนเพื่อให้นักเรียนมีอาชีพนั้นสำคัญกว่าการสอนหนังสือ ส่วนการเลือกอาชีพนั้นให้สนับสนุนให้เลือกตามความสามารถและความถนัดของแต่ละคน อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือนักเรียนดังกล่าวเป็นไปตามประเพณีไทยคืออยู่ในรูปของ “การแนะนำ”ยังขาดเทคนิควิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมอยู่มากมายและถือว่า กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานแรกที่มีบทบาทในการริเริ่มงานแนะแนวตามหลักวิชา ดังที่กองเผยแพร่การศึกษาได้รวบรวมไว้

พ.ศ.2491 มล.ปิ่น มาลากุล ปลัดกระททรวงศึกษาธิการได้จัดตั้ง กองการศึกษาประชากรขึ้น ในกรมวิชาการ โดยให้มีหน้าที่โฆษณาให้ประชาชนเห็นคุณค่าของการศึกษาแนะนำการศึกษาและอาชีพ จัดทัศนศึกษาให้การศึกษาทั้งวิทยุและหนังสือพิมพ์ รวมทั้งจัดโรงเรียนเด็กพิการด้วย นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งสำนักงานเพื่อให้ผู้ปกครองมาติดต่อขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกแนวทางการศึกษาและอาชีพของเด็กอีกด้วย และในปีรุ่งขึ้นก็ได้เริ่มจัดพิมพ์ ”คู่มือแนะทางการศึกษา” แจ้งรายการประเภทโรงเรียน สถานที่ตั้ง ระยะเวลาเรียนของสถาบันต่างๆทั่วประเทศ โดยจัดตั้งทุกปีเป็นประจำ

พ.ศ. 2495 กองการศึกษาประชากรได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองเผยแพร่การศึกษาและอาชีพ ซึ่งแผนกหลังนี้เริ่มงานแนะแนวให้แก่ประชาชนอย่างกว้างๆเช่น แนะนำให้นักเรียนเข้าเรียนต่อสถาบันศึกษาแนะนำให้นักเรียนเข้าเรียนต่อสถาบันศึกษาแนะนำอาชีพของบุตรหลาน เป็นต้น

ในปีเดียวกันนี้ กรมอาชีวศึกษาได้จัดตั้ง กรมส่งเสริมอาชีพขึ้นมีหน่วยงานอยู่ 2 แผนกคือ แผนกตรวจสอบและแนะนำ กับแผนกอาชีวสงเคราะห์ ซึ่งมีแผนงานเกี่ยวข้องกับบริการแนะแนวอาชีพเป็นอย่างมาก เพราะเกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาการศึกษาต่อและอาชีพ การจัดทำแบบทดสอบต่างๆ จัดหางานให้ทำทั้งในระหว่างที่เรียนอยู่และสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว นอกจากนี้ยังจัดทำเอกสารเกี่ยวกับอาชีพต่างๆเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไปอีกด้วย

พ.ศ. 2496 กรมวิชาสามัญศึกษาร่วมกับ UNICEF มีโครงการทดลองโรงเรียนมัธยมแบบประสมที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษดิ์ จังหวัดฉะชิงเทรา จึงได้จัดบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน เพื่อบริการนักเรียนเกี่ยวกับการเลือกสายการเรียนที่เหมาะสมกับตนตามหลักสูตรมัธยมแบบประสมนับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน

ในปีนี้ กองเผยแพร่การศึกษาได้จัดรายการวิทยุเกี่ยวกับการแนะแนว เช่นรายกการรู้จักเด็กของท่าน ครอบครัวอุดมสุข ตอบปัญหา แนะแนวการศึกษาต่อ เป็นต้น เป็นรายการแนะแนวแก่ประชาชนทั่วไป

พ.ศ. 2497 คณะกรรมการบัญญัติภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการได้บัญญัติศัพท์ “การแนะแนว” ตรงกับคำว่า Guidance แผนกแนะนำการศึกษาและอาชีพในกองเผยแพร่การศึกษา จึงเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกแนะแนวการศึกษาและอาชีพและเปลี่ยนสังกัดไปอยู่สำนักงานปลัดกระทรวง แผนกนี้ได้จัดพิมพ์เอกสาร “คู่มือแนะทางการศึกษา”เพื่อแนะแนวการศึกษาให้ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ระยะนี้กระทรวงมหาดไทยเริ่มมีบทบาทการแนะแนวขึ้น โดยที่กองแรงงานกรมประชาสงค์เคราะห์ได้จัดตั้งบริการแนะแนวอาชีพขึ้นเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2503 กองเผยแพร่การศึกษา ได้จัดสัมนาการแนะแนวการศึกษาและอาชีพขึ้น โดยเชิญผู้มีความรู้และประสบการณ์ทางการแนะแนวมาประชุมร่วมกัน เพื่อรวบรวมความคิดเห็นร่วมกับการพัฒนางานแนะแนว อันจะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป หลังจากสัมมนาครั้งนี้แล้ว กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้กองเผยแพร่การศึกษาเป็นหน่วยประสานงานแนะแนว ระหว่างผู้แนะแนวเพื่อรวบรวมความรู้ทางวิชาการและข้อคิดเห็นต่างๆที่จะใช้เป็นประโยชน์แก่การเผยแพร่และพัฒนากิจการแนะแนวให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ในปีเดียวกันหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมวิสามัญศึกษา ได้จัดให้มีหน้าที่ประจำหน่วยช่วยส่งเสริมการแนะแนวในโรวงเรียนมัธยมต่างๆ ทำให้มีการไหวตัวเกี่ยวกับการแนะแนวมากขึ้น และมีหลายโรงเรียนที่จัดบริการแนะแนวมากขึ้นและมีหลายโรงเรียนที่มีการจัดบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน เช่น โรงเรียนวัดสุวรรณาราม จังหวัดธนบุรี โรงเรียนชลราษฎร์อำรุง จังหวัดชลบุรี โรงเรียนสุรนารีวิทยา จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งบริการแนะแนวในโรงเรียน กรมวิสามัญศึกษาจึงได้เริ่มจัดส่งข้าราชการในกรมไปศึกษาวิชาการแนะแนวในต่างประเทศ และจัดให้มีการอบรมวิชาการแนะแนวทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งระยะสั้นระยะยาวตามกำลังงบประมาณ

ปลายปีนี้เอง กรมแรงงานได้ดำเนินการแนะแนวอย่างจริงจังโดยมีการให้คำปรึกษาแก่ประชนทั่วไปเกี่ยวกับการเลือกอาชีพและปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการทำงานส่งเจ้าหน้าที่แนะแนวอาชีพไปให้คำแนะนำในการเลือกอาชีพแก่นักเรียนและนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆโดยมุ่งเน้นให้นักเรียนนักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของอาชีพความเคลื่อนไหวของตลาดแรงงาน ความต้องการกำลังคนในอาชีพต่างๆอีกด้วย

พ.ศ. 2540 กองเผยแพร่การศึกษาได้จัดปรุชุมแนะแนวการศึกษาและอาชีพที่ขึ้นที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ผู้ตรวจราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษานิเทศก์ภาค และอาจารย์ใหญ่มัธยมสามัญ แผนกจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวขึ้นในปีนี้

พ.ศ. 2505 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้ง “คณะกรรมการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ” มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการทำงานแนะแนวให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานต่างๆเกี่ยวกับงานแนะแนวนอกจากนี้ยังตั้ง “คณะกรรมการช่วยริเริ่มบริการแนะแนวในโรงเรียน” เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่ริเริ่มจัดบริการแนะแนวในส่วนกลาง 4 โรงเรียนคือ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ โรงเรียนวัดสุวรรณารามวิทยาคม โรงเรียนสตรีประเทืองวิทย์ และโรงเรียน อำนวยศิลป์พระนคร และโรงเรียนในภูมิภาคอีก 5 แห่งที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในปีนี้กรมการฝึกหัดครู ได้จัดอบรมครูผู้ทำหน้าที่แนะแนวขึ้นที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร

พ.ศ. 2506 ความรู้เรื่องการแนะแนวแพร่หลายยิ่งขึ้น เพราะผู้ที่ไปศึกษาเรื่องแนะแนวกลับมาจากต่างประเทศมากขึ้น มีการพิมพ์เอกสารและมีบทความเกี่ยวกับการแนะแนวออกเผยแพร่มากขึ้น โรงเรียนหลายแห่งทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเริ่มไหวตัวที่จะจัดบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน ได้มีการเชิญเจ้าหน้าที่ของแผนกแนะแนวการศึกษาและอาชีพไปแนะแนวให้กับโรงเรียน หรือได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมอื่นๆแนะแนวให้กับโรงเรียนของตน

พ.ศ. 2507 วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ได้จัดหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงสาขาการแนะแนวขึ้น และได้ขยายหลักสูตรวิชาการแนะแนวถึงระดับปริญญาโทในระยะเวลาต่อมา

พ.ศ. 2508 คณะกรรมการการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ได้พิจารณาปัญหา เรื่องจำนวนเจ้าหน้าที่แนะแนวของโรงเรียนไม่เพียงพอ จึงได้เสนอให้ครุสภาพิจารณาตำแหน่งบุคลากรแนะแนวโรงเรียน ครุสภาจึงรับรองให้มีบทเฉพาะกาล พ.ศ. 2508-2512 ให้ตั้งตำแหน่งผู้ช่วยครูในโรงเรียนได้

พ.ศ. 2509 กองเผยแพร่การศึกษาได้จัดสัมมนาครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ขึ้น ณ หอประชุมครุสภา เพื่อให้ผู้บริหารได้มีความเข้าใจในงานแนะแนว ซึ่งจะมีผลในด้านการสนับสนุนและให้ความร่วมมืองานแนะแนวในโรงเรียนต่อไป

พ.ศ. 2510 กองเผยแพร่การศึกษาได้จัดสัมมนาครูใหญ่และอาจารย์ใหญ่ขึ้นเป็นครั้งที่สอง เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและวางโครงการการดำเนินการแนะแนวให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังได้เปิดอบรมเจ้าหน้าที่แนะแนวของโรงเรียน หลักสูตรระยะสั้นอีกด้วย

พ.ศ. 2511 คณะกรรมการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ได้วางหลักการพิจารณาบุคลากรสำหรับการแนะแนวได้เสนอให้ครุสภาถือเป็นหลักปฏิบัติ ทางฝ่ายกองเผยแพร่การศึกษาได้ร่วมมือกับวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ได้เริ่มจัดอบรมเจ้าหน้าที่แนะแนวระดับวุฒบัตรครูแนะแนวและผู้ช่วยครูแนะแนวขึ้น และกระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการการวางแผนโครงการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ” เพื่อพิจารณาวางโครงการขยายการแนะแนวให้แพร่หลายไปในส่วนภูมิภาคและพิจารณาแก้ไขปรับปรุงเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการแนะแนวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

พ.ศ. 2512 กองเผยแพร่ได้จัดสัมมนาครูใหญ่ – อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเกี่ยวกับเรื่องการแนะแนวแลจัดทำโครงการการศึกษาค้นคว้าภาวะและทัศนคติของนักเรียนเพื่อประโยชน์ในการแนะแนว

พ.ศ. 2513 คณะกรรมการริเริ่มบริการแนะแนวในโรเรียนร่วมกับกองเผยแพร่การศึกษา จัดการสัมมนาครูใหญ่ – อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งในส่วนภูมิภาค และสัมมนาครูใหญ่และเจ้าหน้าที่บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาเพื่อขยายการแนะแนวไปสู่ระดับประถมศึกษา นอกจากนี้กองเผยแพร่การศึกษายังได้จัดทำโครงการจัดตั้ง “หน่วยบริการและประสานงานแนะแนวกลาง” โดยเสนอเข้าอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่3 (พ.ศ. 2515-2519) อีกด้วย

พ.ศ.2514 กองเผยแพร่การศึกษา ได้จัดสัมมนาครูใหญ่ เกี่ยวกับงานแนะแนวในโรงเรียนประถมและมัธยม และอบรมเจ้าหน้าที่แนะแนวโรงเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ในด้านวิชาการ และความร่วมมือทางการเงินจากมูลนิธิเอเชีย

พ.ศ. 2518 กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้จดทะเบียน จัดตั้งสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย (ส.น.น.ท) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 5 ข้อคือ

1.ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นทางวิชาการระหว่างสมาชิก

2.เป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า และเผยแพร่ความรู้เรื่องแนะแนวทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ

3.ส่งเสริมและช่วยเหลือการจัดบริการแนะแนวในสถาบันการศึกษาทุกระดับทั่วประเทศ

4.ให้บริการแนะแนวแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป

5.ร่วมมือและประสานงานกับฝ่ายต่างๆทั้งภายในและภายนอกที่มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมกิจกรรมแนะแนว

จะเห็นว่าการแนะแนวในประเทศไทยเริ่มขึ้นจากที่มีผู้นำทางการศึกษามองเห็นความสำคัญจึงจัดให้มีขึ้นในขณะที่สังคมไทยยังมีลักษณะแบบปฐมภูมิ ไม่มีปัญหาสลับซับซ้อนเช่นปัจจุบันนี้ ทำให้การขยายการแนะแนวประสบกับอุปสรรคต่างๆมากมายแม้ว่าได้พยามเผยแพร่ด้วยวิธีการหลายๆอย่างที่ทราบแล้วก็ไม่อาจพัฒนาการแนะแนวไปได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งสภาพของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตลอดถึงวัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาพร้อมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆนั้น ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย ทั้งด้านอาชีพ การเรียน เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความต้องการแนะแนวขึ้น มีผลให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสามารถคาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มของความต้องการแนะแนวในอนาคตจะสูงยิ่งขึ้น ลักษณะการพัฒนาการแนะแนวเช่นนี้ตรงข้างกับพัฒนาการในสหรัฐอเมริกาในด้านที่สหรัฐอเมริกาเริ่มต้นจากปัญหาของสังคม ประชากรกลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่าการแนะแนวจะช่วยลดปัญหานั้นได้ จึงพัฒนาไปเป็นลำดับ ประกอบกับเป็นระยะของความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการต่างๆ ทำให้การแนะแนวเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นวิทยาการสาขาใหม่ขึ้นและเป็นที่ยอมรับของรัฐบาลและให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในที่สุด

จากประวัติความเป็นมาของการแนะแนวนี้จะพบว่าการแนะแนวนั้นตั้งอยู่บนรากฐานของสิ่งต่างๆ อันได้แก่

1.รากฐานทางปรัชญา ปรัชญาสำคัญที่รับรองกิจกรรมดำเนินงานและจัดกิจกรรมทางการแนะแนวก็คือ ปรัชญาการศึกษาแบบอัตถิภาวะนิยม (Existentialism)

2.รากฐานทางจิตวิทยา จิตวิทยาที่สำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วิชาการแนะแนว ได้แก่ แนวความคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยม และมนุษยนิยม ตลอดจนด้านการวัดทางจิตวิทยา รวมถึงทฤษฎีต่างๆทางจิตวิทยา

3.รากฐานทางสังคมวิทยาโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับบทบาทฐานะขององค์การทฤษฎีของสังคมต่างๆ เช่นทฤษฎีการขัดแย้ง ทฤษฎีความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังมีเนื้อหาของประชากรศาสตร์ (คุณภาพประชากร ฯ) สังคมสงเคราะห์ พัฒนาชุมชน เป็นต้น

4.รากฐานทางเศรษฐศาสตร์ การแนะแนวตั้งอยู่บนรากฐานวิชาเศรษฐศาสตร์ ในแง่ที่เกี่ยวกับ อุปสงค์-อุปทาน (Demand-Suppy) การว่าจ้าง-การว่างงาน ความต้องการของตลาด เป็นต้น

บทสรุป

จากเป้าหมายที่จะพัฒนาเยาวชนในระบบโรงเรียนให้พัฒนาเติบโตไปเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้ก่อเกิดการริเริ่มสร้างระบบงานบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียนเพื่อเป็นกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการช่วยเหลือป้องกันไม่ให้ปัญหาอุปสรรคใดๆมากระทบไปจนถึงการดูแลแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ทั้งนี้การริเริ่มงานบริการแนะแนวในโรงเรียนอย่างเป็นระบบระเบียบเป็นที่ยอมรับนั้น เริ่มต้นขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา จากการให้บริการแนะแนวอาชีพแก่นักเรียนในโรงเรียนช่างกลแห่งหนึ่งในเมืองซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นปลายศตวรรษที่ 19 ที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้กระแสสังคมกำลังต้องการกำลังคมในกลุ่มแรงงานอาชีพที่มีฝีมือเข้าปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยนายแฟรงค์ พาร์สันส์ (Frank Parsons) ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการแนะแนวของสหรัฐอเมริกาสำหรับในประเทศไทยงานบริการแนะแนวได้เริ่มต้นขึ้นอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2455 ณ ที่ประชุมผู้บริหารการศึกษาและนักการศึกษาไทย ที่ได้พิจารณาเกี่ยวกับการเลือกอาชีพของนักศึกษาที่พยายามหาวิธีการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเลือกอาชีพตามความถนัดและเหมาะสมกับตนเอง จากนั้นก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาและเป็นระบบมากขึ้น จน พ.ศ.2496 ได้เริ่มจัดบริการแนะแนวในโรเรียนขึ้นครั้งแรกที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีการจัดห้องแนะแนวที่เรียกว่า “ ห้องศึกษาสงเคราะห์ ” เปิดให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกเรียนวิชาต่างๆ จากนั้นก็พัฒนาเรื่อยมาอย่างเป็นระบบและงานพัฒนาผู้เรียนผ่านกิจกรรมแนะแนวก็ถูกกำหนดชัดเจนไว้ในหลักสูตรที่ทุกโรงเรียนต้องจัดบริการให้แก่นักเรียนทุกระดับ

การแนะแนว

ความหมายของการแนะแนว

การแนะแนวเป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะช่วยเหลือให้บุคคลสามารถเข้าใจตนเองและรู้จักตนเอง รอบทั้งเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบๆตัว รู้จักคิดและใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจด้วยตนเองแก้ไขปัญหาต่างๆหรืออุปสรรคในชีวิตตนเอง สามารถเป็นผู้นำให้กับตนเองได้เป็นตัวของตัวเองสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมและดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

นักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้ความหมายของการแนะแนวไว้ ดังนี้

การแนะแนว คือ กระบวนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันระหว่างผู้มีปัญหาที่ต้องการความช่วยเหลือและผู้แนะแนวที่ผ่านการฝึกฝนอบรมอย่างดี รวมทั้งผ่านการศึกษาเกี่ยวกับการแนะแนวมาแล้ว มีจุดมุ่งหมายปลายทางที่จะช่วยเหลือให้ผู้ประสบปัญหาได้มีโอกาสเรียนรู้ที่จะเผชิญกับสภาพความเป็นจริงและสิ่งแวดล้อม รอบๆตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( J.D. Krumboltz,1970 )

การแนะแนวคือการบริการต่างๆ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายธรรมดาเกี่ยวกับการช่วยเหลือให้นักเรียนกลายเป็นบุคคลที่รู้จักเป็นผู้นำตนเอง สามารถใช้ความฉลาดและโอกาสต่างๆให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

( Clifford.Froehlich,1958 )

Carter V. Good ( 1973) เจ้าของ Dictionary of Education ให้ความหมายของการแนะแนว ดังนี้

1.การแนะแนวคือ กระบวนการช่วยเหลือให้แต่ละบุคคลสามารถเข้าใจตัวเองและโลกเกี่ยวกับตัวเองได้ดี สามารถเสาะแสวงหาความรู้เพื่อจะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางด้านการศึกษา การพัฒนาทางอาชีพและการมีบุคลิกที่เหมาะสม

2.การแนะแนวคือ วิธีช่วยเหลืออย่างมีแบบแผนต่อเนื่องกัน ซึ่งนอกเหนือไปจากการสอนตามปกติ เป็นการช่วยเหลือให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคลอื่นๆ สามารถประเมินความสามารถของตนเองและข้อบกพร่องของตนเอง เพื่อจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

3.การแนะแนวเป็นวิธีการที่กระทำโดยตรงต่อเด็ก ในการที่จะนำเด็กไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทาง โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้แก่เด็ก เพื่อจะเป็นสาเหตุให้ทราบถึงความปรารถนาและความต้องการเบื้องต้นของตนเอง และเกิดความสนใจต่อความต้องการเหล่านนั้น อันจะนำไปสู่ลำดับขั้นของความสำเร็จตามที่ตนเองปรารถนาไว้

4.การแนะแนวเป็นวิธีการที่ครูจะนำเด็กให้รู้จักวิธีการศึกษาค้นคว้าและได้รับการตอบสนองความต้องการของตนเอง

Crow and Crow (1960) ให้ความหมายของการแนะแนวว่า คือการที่ผู้ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตาม ช่วยให้บุคคลนั้นมีความสามารถที่จะช่วยเหลือตนเอง รู้จักคิดและตัดสินใจรวมทั้งรับผิดชอบเกี่ยวปัญหาทุกๆด้านของตนเองได้ด้วยดี

Ruth Strang เชื่อว่าการแนะแนวมีลักษณะทางธรรมชาติไปในทางที่ดี และเขาเชื่อว่าประสบการณ์ที่ได้รับจากโรงเรียนจะสามารถใช้รวบรวมเป็นประสบการณ์ในชีวิตได้ ซึ่งหัวใจของการแนะแนวนั้นคือการรู้จักเป็นรายบุคคล การเข้าถึง โอกาสในการศึกษาเหล่าเรียน และการช่วยเหลือให้แต่บุคคลให้มีวิธีการทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม รวมทั้งการรับขอรับคำปรึกษาได้อีกด้วย (อ้างถึงใน วัฒนา พัชราวนิช, 2531 )

การแนะแนวคือ ส่วนหนึ่งของการศึกษา จัดให้มีขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ให้มีความเจริญงอกงามถึงที่สุด โดยการจัดให้นักเรียนทุกๆคนอย่างทั่วถึงกัน ให้เขาเหล่านั้นรู้จักเลือก รู้จักตัดสินใจ และรู้จักปรับตัวเองอย่างฉลาดเมื่อเขาได้เจริญเติบโตขึ้นภายในภาคหน้า ( สมนึก บำรุง ,2517)

การแนะแนวคือ วิธีการช่วยเหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จและเกิดความสุขความพอใจ ซึ่งการช่วยเหลือนั้นไม่ได้ออกมาในลักษณะ ดังนี้ (สุโท เจริญสุข ,2520)

1.บอกให้กระทำตาม

2.แนะนำให้ปฏิบัติตาม

3.อกคำสั่งหรือบังคับให้กระทำ

4.ช่วยทำแทนให้ หรือช่วยแก้ปัญหาให้

วิธีแนะแนวที่ถูกต้องนั้นจะต้องออกมาในลักษณะ ดังนี้

1.ช่วยให้บุคคลเข้าใจและรู้จักตัวเองดียิ่งขึ้น

2.ช่วยให้เข้าใจประโยชน์และโทษที่ได้กระทำลงไป

3.ช่วยให้แนวความคิดที่ถูกต้องและเหมาะสม ในอันที่จะปรับปรุงตนเองให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น

4.ช่วยให้บุคคลได้ทราบชัดในปัญหาและข้อเท็จจริงต่างๆ

5.ช่วยให้บุคคลตกลงใจ หรือ ตัดสินใจเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยตนเองและเป็นผู้นำของตนเอง

6.ช่วยให้บุคคลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง

Arthur E.Traxler (1957) กล่าวว่า การแนะแนวเป็นกระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อช่วยให้คนแต่ละคนได้เข้าใจถึงความสามารถ และความสนใจที่แท้จริงของตนเอง พยายามที่ปรับปรุงความสามารถและบุคลิกให้มีความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของชีวิตให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีในสังคมอีกด้วย

Ruth Strang เชื่อว่าการแนะแนวมีลักษณะทางธรรมชาติ ไปในทางทีดี และเขาเชื่อว่าประสบการณ์ที่ได้รับจากโรงเรียนจะสามารถใช้รวบรวมเป็นประสบการณ์ชีวิตได้ ซึ่งหัวใจของการแนะแนวนั้นคือการรู้จักเป็นรายบุคคล การเข้าใจถึงโอกาสในการศึกษาเล่าเรียน และค่าช่วยเหลือให้แต่บุคคลมีวิธีเลือกการทำงานอย่างเหมาะสม รวมทั้งการขอรับคำปรึกษาได้อีกด้วย

การแนะแนว คือ ส่วนหนึ่งของการศึกษา จัดให้มีขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้มีความเจริญงอกงามถึงที่สุด โดยการจัดให้นักเรียนทุกๆคนอย่างทั่วๆกันให้เขาเหล่านั้นรู้จักเลือก รู้ตัวตัดสินใจ และรู้จักปรับตัวเองอย่างฉลาดเมื่อเขาได้เจริญเติบโตขึ้นภายในภาคหน้า

การแนะแนวคือ วิธีการช่วยเหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จและเกิดความสุขพอใจ ซึ่งการช่วยเหลือนั้นไม่ได้ออกมาในลักษณะดังนี้

1. บอกให้กระทำตาม

2. แนะนำให้ปฏิบัติตาม

3. ออกคำสั่งหรือบังคับให้กระทำ

4. ช่วยทำแทนให้ หรือช่วยแก้ปัญหาให้

วิธีแนะแนวที่ถูกต้องนั้นจะต้องออกมาในลักษณะดังนี้

1. ช่วยให้บุคคลได้รู้จักและเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น

2. ช่วยให้เข้าใจประโยชน์และโทษที่ได้กระทำลงไป

3. ช่วยให้เกิดแนวความคิดที่ถูกต้องและเหมาะสมในอันที่จะปรับปรุงตนเองให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น

4. ช่วยให้บุคคลได้ทราบชัดเจนในปัญหาและข้อเท็จจริงต่างๆ

5. ช่วยให้บุคคลตกลงใจ หรือ ตัดสินใจเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยตนเอง และเป็นผู้นำตนเอง

6. ช่วยให้บุคคลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง

Arthur E. Traxler (1957) กล่าวว่า การแนะแนวเป็นกระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อช่วยให้คนแต่ละคนได้เข้าใจถึงความสามารถ และความสนใจที่แท้จริงของตนเอง พยายามที่จะปรับปรุงความสามารถและบุคลิกภาพให้มีความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของชีวิตให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติตนให้เป้นสมาชิกที่ดีของสังคมอีกด้วย

Carroll H. Miller (1976) กล่าวว่า การแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือแต่ละบุคคลให้สามารถเข้าใจตนเอง ตัดสินใจได้ด้วยตนเองและมีการวางแผนในการพัฒนาระบบของชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น

Clarence C. Dunsmor and leonard H. Miller กล่าวว่า การแนะแนว คือ บริการที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นเพื่อช่วยให้เด็กทุกๆคนรู้จักและเข้าใจตนเอง รู้จักแนวทางที่จะปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน การใช้ความสามารถของตนเอง รวมทั้งการที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างราบรื่นซึ่งการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการแนะแนวของโรงเรียนจึงควรจะจัดเกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง ความมีศีลธรรมและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วย

Frank G. Devis and Peart S. Norris กล่าวว่า การแนะแนว คือ กระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักควบคุมตนเองและสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้รวมทั้งรู้จักสำรวจความสามารถและความสนใจของตนเอง และสามารถพัฒนาไปตามความสามารถที่มีเต็มที่อยู่แล้ว

การแนะแนวจำเป็นต้องกระทำการต่อเนื่องกันไป เป็นหน้าที่โดยตรงของโรงเรียนที่จะต้องพัฒนานักเรียนให้ดำเนินชีวิตไปทิศทางที่เหมาะสมกับสภาพที่แท้จริงของตนสามารถพัฒนาตนเองไปจนถึงขีดสูงสุดของความสามารถที่ตนเองมีอยู่และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น

สรุปความหมายของการแนะแนวคือ “กระบวนการที่ช่วยให้บุคคลรู้จักและเข้าใจตนเองเรียนรู้ที่จะเข้าใจสภาพแวดล้อม รู้จักวิธีที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา ตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาได้ถูกต้องสามารถวางแผนการดำเนินชีวิตในอนาคตของตนเองได้อย่างถูกต้อง และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมไดเป็นอย่างดี ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต กระบวนการแนะแนวเหล่านี้จัดขึ้นโยกลุ่มบุคคลที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วเป้นอย่างดี ซึ่งบุคคลเหล่านนี้จะทำหน้าที่ช่วยเหลือ และส่งเสริมให้เด็กได้มีการพัฒนาการในทุกๆด้าน และสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมซึ่งเป็นกรรมวิธีที่จะต้องกระทำการติดต่อกัน”

การแนะแนวเป็นไปโดยอิสระ ปราศจากการบังคับ ให้เสรีภาพแก่บุคคลที่จะคัดเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง การแนะแนวเป็นกระบวนการที่จะช่วยพัฒนาบุคคลไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางของชีวิตที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้เอง การแนะแนวจึงเป็นหลักที่สอดคล้องกับชีวิตอีกด้านหนึ่ง คือด้านความเจริญงอกงาม ซึ่งการแนะแนวจะบรรลุเป้าหมายได้ ต้องมีคนที่มีใจรักงานแนะแนวอย่างแท้จริง และยินดีเสียสละเพื่องานแนะแนวได้ จึงทำให้งานแนะแนวประสบความสำเร็จและมีความเจริญก้าวหน้า

จุดมุ่งหมายของการแนะแนว

บริการแนะแนวที่จัดขึ้นตามโรงเรียนต่างๆ โดยทั่วไป มีจุดมุ่งหมายสำคัญๆ ดังนี้

1 เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถรับผิดชอบต่อตนเอง ยอมรับสภาพที่แท้จริงของตนเอง และมีความรู้สึกพอใจในสภาพของตนเอง

2 เพื่อให้บุคลรู้จักและขใจตนเอง สามารถตัดสินใจไดอย่างถูกต้อง รู้จักป้องกันปัญหา และแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง และเป็นผู้นำตนเอง

3 เพื่อให้มีการพัฒนาตนเองทั้งทางกาย สมอง อารมณ์และสังคม รู้จักวิเคราะห์ว่าตนเองมีความสามารถหรือมีข้อบกพร่องอะไรบ้างในด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ และสังคม

4 เพื่อให้เข้าสภาพแวดล้อม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และดำเนินชีวิตของตนเองอยู่ได้อย่างฉลาดและเป็นสุข

5 เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีในการเรียน สามารถเลือกวิชาได้ตามความถนัดของตนเอง และประกอบอาชีพตามความถนัด มีประสิทธิภาพในการทำงานอันเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ต่อครอบครัว และประเทศชาติสืบไป

6 เพื่อให้รู้จักควบคุมอารมณ์ ฝึกให้รู้จักอดทน เข้มแข็ง และสมารถชนะอุปสรรคต่างๆได้ด้วยดี

7 เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ดีงาม สร้างนิสัยที่ดี รู้จักมนุษย์สัมพันธ์และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น

8 เพื่อช่วยให้บุคคลเกิดความคิดสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

9 เพื่อช่วยให้บุคคลหลีกเลี่ยงปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหาวิธีการในการป้องกันปัญหาอย่างถูกวิธี

10 เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสมแก่นักเรียน สามารถทำให้นักเรียนค้นพบสิ่งใหม่ๆและช่วยพัฒนาความสนใจในด้านสันนาการ อันทำให้ชีวิตมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

11 เพื่อให้ความรู้ด้านต่างๆให้เหมาะสมแก่นักเรียน ทั้งด้านการศึกษาเล่าเรียน ให้โอกาสในการศึกษาหาความรู้ทุกๆด้าน รวมทั้งแนวทางในการทำงานหรือแนวทางในการประกอบอาชีพ

12 เพื่อให้บุคคลได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษากับงาน โดยให้นักเรียนได้รับความรู้จากโรงเรียนหรือสถานศึกษาได้มากที่สุด และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

13 เพื่อให้บุคคลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆอย่างดี มีความเข้าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแต่ละอาชีพ

14 เพื่อให้บุคคลเข้าใจถึงสภาพชีวิตที่แท้จริงและรู้ซึ้งถึงความสำคัญของเศรษฐกิจที่มีต่อชีวิตของชีวิตมนุษย์ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับตนเองและครอบครัวต่อไปในภายภาคหน้า

15 เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าของตนเองซึ่งมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในชีวิต อันจะเป็นผลให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาคุณภาพและลักษณะต่างๆ ให้ดีที่สุด

16 เพื่อให้รู้จักต่อความรับผิดชอบต่อตนเองทั้งด้านการศึกษา อาชีพและสิ่งอื่นๆ

17 เพื่อให้รู้จักเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับเพศและวัยของตนเองและรู้จักวิธีการที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนเอง

18 เพื่อให้บุคคลเข้าใจถึงความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพและพลานามัย รวมทั้งบุคลิกภาพและความสามรถในการแสดงออกต่างๆของนักเรียน

19 เพื่อให้สุภาพอ่อนโยน สุขุมเยือกเย็น รู้จักให้ความเป็นมิตร และให้ความร่วมมือกับบุคคลทั่วไป

20 เพื่อช่วยให้ครูเกิดความเข้าใจนักเรียนได้อย่างดีและถูกต้องอันเป็นแนวทางในการช่วยเหลือนักเรียนต่อไป

ความสำคัญของการแนะแนว

การแนะแนวมีความสำคัญและมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นในสังคมปัจจุบันทั้งเนื่องจากปัญหาต่างๆ ของนักเรียนในโรงเรียนมีมากขึ้น มีทั้งปัญหาในการศึกษาเล่าเรียน ปัญหาในการศึกษาต่อในอาชีพต่างๆรวมทั้งการประกอบอาชีพ ตลอดจนปัญหาส่วนตัวของนักเรียนทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนดังที่ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2542, หน้าคำนำ) กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยีการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สังคมมีความซับซ้อนทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารทั้งทางบวกละทางลบ ตัวอย่างที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม รวมทั้งเกิดการแข่งขันในด้านการศึกษาและเศรษฐกิจเป็นอย่างมากซึ่งนับวันจะมีความรุนแรงจนมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเยาวชนและประชาชนทั่วไปส่งผลให้บุคคลต้องพยายามปรับตัวเพื่อดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่นและมีความสุข หากบุคคลไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะเกิดความคับข้องใจ ขัดแย้งใจและวิตกกังวล หากปล่อยไว้นานๆจะเกิดปัญหาต่างๆเช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาการไม่มีงานทำ ปัญหาการปรับตัว ปัญหาติดสารเสพติด ปัญหาความเครียด การช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก รู้จักขอบเขต สถานภาพของตน ยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างการ ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง วางตัวให้เหมาะสมกับเพศของตน สร้างสมทัศนะท่าทีเป็นผู้ใหญ่ เตรียมตัวสุ่อาชีพและชีวิตครอบครัว

การแนะแนวจะช่วยให้ครูเข้าใจเด็กได้ดียิ่งขึ้น ครูเข้าใจลักษณะการเจริญเติบโตของเด็กขึ้น เข้าใจความต้องการของเด็ก เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกลุ่มเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมอื่นๆ ให้แก่เด็กได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ครูกับผู้ปกครองครองมีการประสานงานกันเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบ้านและโรงเรียน ผู้เรียนบรรลุถึงจุดหมายของหลักสูตรที่กำหนดช่วยให้โรงเรียนได้นำแหล่งวิทยาการในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่ทั้งนี้งานแนะแนวของโรงเรียนมีประสิทธิภาพมากเพียงใดขึ้นอยู่กับครูแนะแนวที่เขาใจบทบาทของตนเองและกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ประโยชน์ในการจัดบริการแนะแนวก็จะเกิดผลประโยชน์มากยิ่งขึ้นอย่างเต็มที่

ดังนั้นในบทบาทของโรงเรียนที่มีความสำคัญในการดูแลเอาใจใส่นักเรียนในการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ทั่วๆ ไปช่วยให้เกิดความเข้าใจและยอมรับตนเองรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ รู้จักตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ในภาวะปัจจุบันที่มีสาขาวิชาการศึกษาและอาชีพใหม่มากยิ่งขึ้น บทบาทการแนะแนวจะช่วยให้นักเรียนรู้จักวางแผนการประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเองหรือในกรณีที่วัฒนธรรมต่างประเทศเข้ามามีอิทธิพลต่อค่านิยม เจตคติ พฤติกรรมต่างๆ ของคนไทย ทำให้นักเรียนมีความสับสน ไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองยึดถืออยู่ มีความตัดสินใจลำบากไม่ทราบว่าจะเลือกปฏิบัติในเรื่องใด จึงจะเป็นการดี บริการแนะแนวของโรงเรียนก็จะช่วยเหลือนักเรียนในด้านการสร้างเสริมค่านิยมที่ดีงาม ดังนั้นการแนะแนวจะช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจนักเรียนแต่ละคนอันเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ เพื่อช่วยส่งเสริมช่วยเหลือให้นักเรียนได้รู้จักเข้าใจตนเองสามารถพัฒนาตนเอง สามารถพัฒนาตนเองปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

ปรัชญาการแนะแนว (Philosophy of Guidance)

ปรัชญาการแนะแนว หมายถึง แนวความคิดที่กำหนดหลักการในการให้ความช่วยเหลือบุคคล เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติ เพื่อให้งานแนะแนวดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

3.1 มนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างกัน (Individual Difference) ดังนั้นในการจัดการแนะแนวจะต้องจัดกิจกรรมหลายๆอย่าง

3.2 มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งจะต้องพัฒนาให้ถึงสุดขีดในทุกๆด้าน ดังนั้น ในการจัดการแนะแนวจึงไม่มุ่งในการแก้ปัญหา แต่จะมุ่งในการป้องกันปัญหาและมุ่งในการส่งเสริมพัฒนา

3.3 พฤติกรรมของทุกคนย่อมมีสาเหตุ (All,Behaviro is Caused) ดังนั้น ในการจัดการแนะแนวครุจะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กอย่างถ่องแท้

3.4 มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้นในการจัดการบริการแนะแนวโรงเรียนต้องจัดกับให้เด็กทุกคน ไม่ได้จัดเฉพาะผู้มีปัญหาเท่านั้น และจัดเป็นกระบวนการต่อเนื่อง

3.5 มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี ดังนั้นผู้ให้การแนะแนวจะต้องได้รับการแนะแนวตัดสินใจด้วยตัวเอง

3.6 มนุษย์ทุกคนมีความสุขเมื่อได้ดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนเองดังนั้น ในการจัดการแนะแนวต้องมุ่งให้บุคคลปรับตัวได้ในปัจจุบันและวางแผนที่ดีในอนาคต

หลักการแนะแนว

ได้กล่าวแล้วว่า หลักการย่อมมาจากปรัชญา ฉะนั้นโดยเหตุที่เรายอมรับในปรัชญาดังกล่าวข้างต้นนี้ จึงทำให้เกิดหลักการดังต่อไปนี้คือ

1.ยึดถือเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยคำนึงถึงความต้องการของเด็กเป็นหลักไม่ใช่ความต้องการของครูหรือผู้ใหญ่

2.ต้องคำนึงถึงเด็กทุกคน ไม่ใช่ช่วยเหลือเฉพาะใครคนใดคนหนึ่ง และเนื่องจากเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน การให้บริการจึงควรให้เหมาะกับแต่ละบุคคล

3.ต้องจัดบริการอย่างต่อเนื่อง การแนะแนวจะได้ผลย่อมต้องอาศัยการเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา โดยจัดบริการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เล็กจนโต หรือตั้งแต่เด็กเข้าเรียนจนจบจากโรงเรียนโดยมีการประสานงานอย่างดีระหว่างผู้รับผิดชอบเด็กในแต่ละระดับ แต่ละชั้น

4.ไม่ใช้วิธีบังคับ แต่ใช้วิธีที่ให้ผู้ได้รับการช่วยเหลือได้เรียนรู้ที่จะช่วยตนเองและได้เพิ่มพูนประสิทธิภาพ ส่งเสริมศักยภาพให้แสดงเป็นผลประโยชน์แก่ตนและสังคม

เป้าหมายปลายทางของการแนะแนว

การที่เด็กสามารถช่วยตนเอง พึ่งตนเอง รับผิดชอบตนเอง รู้จักตนเอง สามารถตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆได้อย่างฉลาดเหมาะกับตน และสามรถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างราบรื่น ซึ่งจะทำให้ตนและสังคมเป็นสุข

หรือจะกล่าวรวมๆอีกแง่หนึ่ง เป้าหมายของการแนะแนวมีประการ 3 ประการ คือ

1.ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของนักเรียน

2.ป้องกันปัญหา

3.แก้ปัญหา

บทสรุป

การแนะแนวเป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลรู้จักและเข้าใจตนเอง รู้จักคิด มีวิจารณญาณในการเลือก การตัดสินใจ สามรถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างฉลาด เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ตลอดจนพร้อมที่จะแก้ปัญหาของตนเองในยามที่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรค บริการแนะแนวที่จัดขึ้นในโรงเรียนก็เป็นไปเพื่อส่งเสริมช่วยเหลือและพัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจตนเองรู้จักตนเองอย่างรอบด้าน เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ เลือกและแนะนำตนเองในด้านการศึกษา อาชีพส่วนตัวและสังคม ภายใต้บริบทของสังคมไทยในยุคสมัยที่มีการแข่งขันและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้สามารถดำเนินชีวิตไปได้อย่างเข้มแข็ง การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพได้ ต้องดำเนินการโดยมีปรัชญา หลักการ และเป้าหมายของหลักการวิชาแนะแนว ที่คำนึงการพัฒนาของมนุษย์ที่เชื่อมั่นว่ามนุษย์มีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่ความเติบโตงอกงามได้ซึ่งแต่ละบุคคลต้องได้รับการบริการอย่างต่อเนื่องที่ยึดผู้บริหารและนักเรียนเป็นสำคัญ โดยมีขอบข่ายเป้าหมายในการบริการแนะแนว 3 ประการ คือ การส่งเสริมพัฒนาทุกด้าน การป้องกันปัญหาและการแก้ไขปัญหา

บทบาทของการแนะแนว

บทบาทของการแนะแนวต่อการศึกษา

การแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา โดยมีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพจะได้ชี้แจงบทบาทของการแนะแนวต่อการศึกษา ดังต่อไปนี้

1.การแนะแนวเป็นการช่วยให้นักเรียนมีความมั่นคงทางจิตใจ โดยการแนะแนวช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองอย่างแท้จริง รู้ขอบเขตความสามารถ ส่วนดี ส่วนบกพร่องของตนเอง การที่นักเรียนรู้จักตนเองเช่นนี้จะทำให้เกิดความมั่งคงทางจิตใจ ทำให้ให้เป็นตัวของตัวเอง กล้าเผชิญความจริง ยอมรับในส่วนบกพร่องของตนและพร้อมที่จะปรับปรุง สิ่งใดที่ดีอยู่แล้วจะพยายามรักษาไว้หรือส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาของเด็กให้ถึงขีดสุด อันเป็นจุดประสงค์ของการศึกษา

2.การแนะแนวเป็นการช่วยให้นักเรียนเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถใช้วิจารญาณ ในการวางแผนการในอนาคตที่เหมาะสมกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิชาเรียน วางแผนการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพ เป็นบุคคลที่สามารถนำตนเองได้

3.การแนะแนวเป็นการช่วยนักเรียนปรับตัวกับผู้อื่นได้ดี เป็นต้นว่า การปรับตัวกับเพื่อนหรือครู ซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งระหว่างนักเรียนกับนักเรียน หรือนักเรียนต่อครูลดลง เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนชอบโรงเรียน

4.การแนะแนวมีส่วนสำคัญในการทำให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาตลอดจนได้รับข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะส่งเสริมการศึกษา เป็นต้นว่า ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร วิธีเรียนบริการต่างๆในโรงเรียนที่ให้แก่นักเรียน

5.บริการแนะแนวเป็นการช่วยให้ครูเข้าใจนักเรียนยิ่งขึ้น โดยนักแนะแนวจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กแก่ครู หรือสนับสนุนแนะนำครูในการศึกษา พฤติกรรมนักเรียน เมื่อครูเข้าใจนักเรียนได้ดีแล้วจะเป็นการช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน

6.บริการแนะแนวเป็นจักรกลสำคัญในการช่วยครูแก้ปัญหานักเรียน ซึ่งเป็นการช่วยนักเรียนเหล่านั้น ได้ทันท่วงที กับทั้งจะเป็นการลดปัญหาในการสอนของครูด้วย

7.หน่วยแนะแนวเป็นแหล่งสำคัญในการหาข้อมูลมา ให้ผู้บริหารโรงเรียน เพื่อใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร ให้เหมาะสมกับความต้องการของเรียน ทั้งนี้เนื่องจากนักแนะแนวเป็นผู้ที่รู้จักเด็กเป็นอย่างดี รู้จักความต้องการและปัญหาของเด็ก และจากการที่นักแนะแนวทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนเกี่ยวกับการเลือกวิชาเรียน จึงทำให้นักแนะแนวได้ข้อมูลเกี่ยวกับความซ้ำซ้อนของวิชาต่างๆ หรือได้ข้อมูลสำหรับการพิจารณาว่า หลักสูตรที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นนั้นตรงกับความต้องการของนักเรียนหรือเหมาะสมกับแนวโน้มของตลาดเกี่ยวกับอาชีพหรือไม่ และจากการติดตามผมของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาแต่ละระดับ หรือนักเรียนออกจากโรงเรียนกลางคัน จะเป็นการประเมินผลหลักสูตร หรือประสบการณ์ที่ทางโรงเรียนจัดให้นักเรียน

บทบาทของการแนะแนวต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียน

ในกระบวนการพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียนนั้น ถ้าทุกคนมีพัฒนาการที่ดีงามได้โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ บริการแนะแนวก็เป็นสิ่งไม่จำเป็น แต่นักเรียนมักจะประสบปัญหาต่างๆ ไม่มากก็น้อยเป็นต้นว่า ปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน ความขัดแย้งระหว่างนักเรียนกับครู หรือกับผู้ปกครอง การเลือกสายการเรียน การไม่รู้จักประพฤติตนให้ถูกต้องตามกาลเทศะ ปรับตัวกับผู้อื่นไม่ได้ตลอดจนปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของนักเรียนและถ้านักเรียนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จะทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ บริการแนะแนวมีหน้าที่สำคัญในการช่วยนักเรียนขจัดอุปสรรคเหล่านี้ การแนะแนวไม่เพียงแต่เป็นบริการที่ช่วยแก้ปัญหาให้นักเรียนเท่านั้น แต่จะเป็นการฝึกให้นักเรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาและมีกำลังใจที่จะแก้ปัญหาในอนาคต หรือถ้านักเรียนมีแนวโน้มที่จะมีปัญหา บริการแนะแนวจะช่วยสกัดกั้นไม่ให้เกิดปัญหา และพยายามปรับปรุงส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงปรารถนา สามารถปรับตัวในสังคมได้อย่างมีความสุข

บริการแนะแนวมีบทบาทในการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของนักเรียน ไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนาและบทบาทของบริการแนะแนวต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนไปในทางที่ดีงาม

1.พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาเนื่องมาจากสุขภาพหรือความผิดปกติทางด้านร่างกาย

นักเรียนบางคนประสบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพออดแอด ขี้โรค ได้รับประทานอาหารที่มีปริมาณและคุณภาพไม่เพียงพอ ทำให้อ่อนเพลีย ซีดเซียว หรือมีความผิดปกติต่างๆ เช่น ติดอ่าง พูดไม่ชัด ขา แขนพิการ บุคคลเหล่านี้จะประสบปัญหาอื่นๆตามมา เป็นต้นว่า ทำให้มีปัญหาในการเรียน หรือการสังคม จะกลายเป็นคนมีปนด้อย ท้อแท้สิ้นหวังในชีวิต ขี้อาย หนีสังคม หรืออาจมีอารมณ์หงุดหงิดเป็นประจำ หรือกลายเป็นคนก้าวร้าว ซึ่งบริการแนะแนวจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เป็นต้นว่า จัดหาทุนสำหรับบริการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนที่ขาดเงินซื้ออาหารกลางวัน ส่งตัวนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพไปพบแพทย์เพื่อรับการบำบัดรักษา หรือในกรณีที่ติดอ่าง หรือพูดไม่ชัด อาจส่งตัวเด็กประเภทนี้ไปพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้นโดยตรง ในกรณีที่เป็นความพิการของร่างกาย ซึ่งแก้ไขไม่ได้แล้ว นักแนะแนวจะให้บริการให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวเพื่อให้เด็กยอมรับความจริง และมีกำลังใจที่จะทำกิจการต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเขาและสังคมต่อไป แทนที่จะมัวสงสารตัวเอง ซึ่งเมื่อบุคคลเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือจากบริการแนะแนว จะทำให้เขาสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นบุคคลที่ปรับตัวได้ดีต่อไป

2.บุคลิกภาพที่ไม่พึงปรารถนา

บุคลิกภาพบางอย่างของนักเรียนเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา เป็นต้นว่า ความเชื่อมั่นในตนเอง ขี้อาย ก้าวร้าวมาก เห็นแก่ตัว ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา แยกตัวออกห่างจากสังคม อารมณ์ไม่มั่นคง ซึ่งลักษณะเหล่านี้รับการสะสมกันมาโดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม เป็นต้นว่า จากการอบรมเลี้ยงดู จากพี่น้อง ซึ่งลักษณะเหล่านี้ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข บริการแนะแนวจะช่วยได้ เป็นต้นว่า ในกรณีที่นักเรียน ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง อาจช่วยด้วยการจัดประสบการณ์ในนักเรียน เช่น ในชั่งโมงกิจกรรมแนะแนว หรือชั่งโมงโฮมรูมครูแนะแนวอาจหางานที่นักเรียนผู้นั้นถนัดให้ทำ หรือให้นักเรียน ได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามถนัดหรือความสนใจ ซึ่งจะทำให้มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในกิจกรรมเหล่านั้น ฉะนั้น จะทำให้นักเรียนผู้นั้นเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และเกิดความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้นทีละน้อย ครูแนะแนวพยายามหาโอกาสให้นักเรียนได้แสดงผลงานของตนต่อเพื่อนๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากยิ่งขึ้น หรือ นักเรียนที่เงียบเฉยเก็บตัว ครูแนะแนวพยายามส่งเสริมให้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆมากขึ้น ในกรณีที่นักเรียนปรับตัวกับผู้อื่น ไม่ๆดี อาจให้บริการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มแก่นักเรียนเหล่านั้น

3.ความเคลือบแคลงในหลักศีลธรรมจรรยาและศาสนา

นักเรียนบางคนมีความเคลือบแคลงในหลักธรรม เป็นต้นว่า จากหลักธรรม เด็กนักเรียนรู้ว่าการพูดปดเป็นสิ่งผิดไม่ควรกระทำ แต่ในทางปฏิบัติเด็กพบว่าบางครั้งผู้ใหญ่ก็พูดปด หรือเด็กได้รับการสั่งสอนว่าการคดโกงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ในสังคมมีตัวอย่างให้เด็กเห็นว่า คนที่คดโกงบางคนประสบความร่ำรวย อยู่ดีกินดี จึงทำให้เด็กเกิดความขัดแย้งในจิตใจ มีแนวโน้มที่จะทำสิ่งที่ขัดต่อหลักธรรม เด็กบางคนเกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา เช่น เด็กอาจเคยได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับอภินิหารต่างๆทางศาสนา ซึ่งขัดต่อหลักวิทยาศาสตร์

ความเคลือบแคลงเหล่านี้บริการแนะแนวสามารถให้ความกระจ่างได้ โดยอาจให้คำปรึกษาเป็นส่วนตัว หรือจัดอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ในกิจกรรมแนะแนวหมู่ หรือสนับสนุนให้รักเรียน หาความกระจ่างในชุมนุม จริยศึกษา (ถ้าโรงเรียนนั้นมีการจัดชุมนุมนี้) ซึ่งทางชมรมอาจมีการเชิญวิทยากรมาเป็นผู้นำอภิปรายในเรื่องเหล่านี้

4.การที่นักเรียนแบ่งเวลาไม่เป็น หรือไม่รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

นักเรียนหลายคนแบ่งเวลาไม่เป็นบางคนใช้เวลาในการเล่นหรือร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรมากเกินไป จนทำให้การเรียนไม่ดีเท่าที่ควร บางคนใช้เวลาว่าง เช่น หลังเลิกเรียนแล้ว หรือวันหยุดไปในการเที่ยวเตร่หาความสำราญมากเกินไป จนไม่สนใจที่จะทบทวนบทเรียน หรือ ศึกษาหาความรู้หรืออาจประพฤติเหลวไหล เที่ยวเตร่ไปตามสถานเริงรมย์ต่างๆ เช่น ตามผับบาร์ คาราโอเกะ หรือ สถานที่เที่ยวกลางคืนต่างๆ หรือบางคนใช้เวลาในการศึกษาจนกระทั่งไม่มีเวลาสังคม หรือ พักผ่อน จนทำให้สุขภาพและการสังคมบกพร่อง

บริการแนะแนวจะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนี้ หรือป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมนี้ขึ้นโดยการจัดกิจกรรมแนะแนวต่างๆ เป็นต้นว่า เปิดอภิปรายเกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในกิจกรรมการ แนะแนวหมู่ หรือสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เด็กถนัด หรือสนใจ เช่น ชุมนุมดนตรี ภาษาโต้วาที ชุมนุมกีฬาต่างๆ หรือชุมนุมการประดิษฐ์ การช่างต่างๆ อาจให้คำปรึกษาแก่เด็กเป็นส่วนตัวในเรื่องการแบ่งเวลา

5.ปัญหาพฤติกรรมที่เนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมทางบ้าน

การปกครองของพ่อแม่และสภาพทางบ้านที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมแก่เด็ก เป็นต้นว่า พ่อแม่ปกครองแบบเผด็จการ จะทำให้เด็กไม่มีความเป็นตัวของตนเอง ไม่รับผิดชอบ ประพฤติตามใจตนเอง การเกิดความริษยากันในหมู่พี่น้อง อาจทำให้เด็กกลายเป็นคนขี้ริษยาและมีหลักยึดมั่นว่า “ตัวใคร ตัวมัน” ไม่มีความเกื้อกูลกันซึ่งถ้าไม่แก้ไขจะเป็นปัญหาสังคมต่อไป เด็กบางคนมีภารกิจการบ้านมากเกินไปจนไม่มีเวลาบททวนบทเรียน หรือบางคนเป็นเด็กกำพร้า หรือพ่อแม่ทะเลาะวิวาทกันเสมอ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางจิตใจแก่เด็ก และเป็นผลต่อการปรับตัวของเด็ก เป็นปัญหาพฤติกรรม เด็กเหล่านี้ต้องบริการให้คำปรึกษาจากหน่วยแนะแนวของโรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง ในการช่วยแก้ไขและปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาเหล่านี้

6.ปัญหาพฤติกรรมเนื่องจากการเรียนและสภาพทางโรงเรียน

นักเรียนหลายคนมีนิสัยในการเรียนที่ไม่ดี ไม่สนใจในการเรียน ไม่เห็นคุณค่าของวิชาต่างๆพื้นฐานความรู้ ในวิชาต่างๆไม่ดี ทำให้ไม่เข้าใจบทเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน มีความขัดแย้งกันระหว่างนักเรียนกับนักเรียน หรือนักเรียนกับครู ไม่มีแนวการในการเรียนต่อหรือประกอบอาชีพ หรือยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเรียนต่อหรือประกอบอาชีพใด ทั้งๆที่อยู่ในสภาพที่จะต้องตัดสินใจแล้ว สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการเรียนและอนาคตในการศึกษาของนักเรียน

บริการแนะแนวจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ด้วยกิจกรรมต่างๆ เป็นต้นว่า สนับสนุนให้เด็กทำตารางการทำงาน ในกรณีที่ไม่รู้จักแบ่งเวลาเรียน หรือจัดการแนะแนวหมู่เกี่ยวกับวิธีเรียนทีทมีประสิทธิภาพหรือจัดให้นักเรียนที่เรียนอ่อนในวิชาต่างๆได้รับการสอนซ่อมเสริม จัดบริการแนะแนวทั้งทางด้านการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพและการปรับตัว ซึ่งอาจจัดในรูปของการแนะแนวหมู่หรือการให้บริการให้คำปรึกษาเป็นส่วนตัว

7.ปัญหาพฤติกรรมเนื่องจากการสังคม

นักเรียนหลายคนมีความบกพร่องทางการสังคม แม้ว่าบางคนจะเรียนดี แต่ถ้าสังคมบกพร่องจะทำให้เด็กคนนั้น ไม่เจริญรุ่งเรืองเทาที่ควร และอาจเกิดปัญหาการปรับตัวขึ้นได้ ความบกพร่องทางสังคม เป็นต้นว่า นักเรียนที่ไม่ค่อยสังคมกับผู้อื่น แยกตัวออกตามลำพัง ทัศนคติที่ไม่ดีต่อสังคม ปรับตัวกับเพื่อนต่างเพศไม่ได้ ไม่มีความรับผิดชอบใรฐานะพลเมืองดี ไม่รู้จักวางตัวให้ถูกต้องตามกาลเทศะ เพื่อแก้พฤติกรรมเหล่านั้น และส่งเสริมพฤติกรรมให้เด็กได้พัฒนาทางสังคมให้ดีที่สุดโดยใช้บริการแนะแนว เป็นต้นว่า การจัดการแนะแนวหมู่ หรือให้คำปรึกษาเป็นส่วนตัวแก่นักเรียนเหล่านี้

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาอันเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวนั้น บริการแนะแนวในโรงเรียนจะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นให้เป็นพฤติกรรมที่ดีงาม อันจะทำให้เด็กพัฒนาถึงขีดสุดในทุกด้านและปรับตัวในสังคมนี้ได้อย่างมีความสุข

การตระหนักถึงปัญหาการปรับตัวต่างๆของนักเรียน

บางครั้งครูหรือผู้ปกครองไม่ได้ตระหนักว่าเด็กมีปัญหาในการปรับตัว ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้ใกล้ชิดกับเด็กพอที่จะสังเกตพบว่าพฤติกรรมที่แสดงถึงการปรับตัวไม่ได้ หรือตีความหมายพฤติกรรมเหล่านั้นผิด

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างพฤติกรรมของนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัว ซึ่งครูควรจะสังเกตและดำเนินการช่วยเหลือหรือส่งเด็กมารับคำปรึกษาจากหน่วยแนะแนว

1.ผลการเรียนต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริง

2.มีปัญหาทางอารมณ์ เป็นต้นว่า เจ้าอารมณ์ วู่วาม

3.ปรับตัวทางสังคมไม่ได้ เป็นต้นว่า แยกตัวออกต่างหาก ก้าวร้าว

4.มีนิสัยในการเรียนที่ไม่ดี

5.ขาดเรียนเสมอ

6.ท้อถอย

7.สุขภาพไม่ดี

8.มีปัญหาทางเศรษฐกิจ

9.ประพฤติตนเป็นอันธพาล

10.มีปัญหาทางการพูด เช่น ติดอ่าง

11.มีปัญหาทางการอ่าน เช่น อ่าช้า อ่านแล้วจับใจความไม่ได้

12.มีความขัดแย้งกับครู

13.ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในสิ่งที่ร้านสาระ

14.เลือกสายการเรียนไม่ได้

15.สอบตกซ้ำชั้น

ปัญหาที่นักเรียนต้องการความช่วยเหลือจากบริการแนะแนว

ปัญหาต่างๆในโรงเรียนหรือในสถานศึกษามีมากมายหลายอย่าง ทั้งทางตรงและทางอ้อมแตกต่างกันออกไป ปัญหาของนักเรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ปัญหาทั่วๆไปที่นักเรียนต้องการใช้บริการแนะแนวมีดังนี้

1.ปัญหาทางด้านการเรียน โดยปกตินักเรียนมักจะมีปัญหาที่จำเป็นต้องนำมาปรึกษาบริการแนะแนว ดังนี้

1.1 ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เข้าใจในบทเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน เรียนไม่รู้เรื่อง ทำให้หมดกำลังใจ เกิดความเบื่อหน่ายท้อแท้ในการเรียน ไม่อยากมาโรงเรียน

1.2 ปัญหาเกี่ยวกับการขัดแย้งกับครูผู้สอน เช่นครูจู้จี้ บ่นมากเกินไป หรือครูมักจะคอยเล่นงานอยู่เสมอ นักเรียนคนหนึ่งบ่นว่า พอครูเข้าห้องเรียนก็เริ่มจ้องมาที่ตัวผม หาเรื่องจับผิดอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่มีจิตใจจะเรียนหนังสือ วันหนึ่งผมทนไม่ไหวต้องบอกว่า “ครูจะมองดินฟ้าอากาศบ้างไม่ได้หรือ ทำไมต้องคอยจ้องมองแต่จะหาเรื่องกับผม”เป็นเหตุให้ครูโกรธเป็นการใหญ่ ข้อขัดแย้งต่างๆภายใยชั้นเรียน ถ้าได้รับแก้ไขอย่างถูกวิธี ปัญหาต่างๆก็จะจบสิ้นลง

ปัญหาที่ครูไม่เข้าใจเด็ก และเด็กไม่เข้าใจครูมักจะเกิดขึ้นเสมอ ฉะนั้นในฐานะของครูพึงจะมองเด็กด้วยความเมตตา เด็กบางคนก้าวร้าวมักมีสาเหตุมาจากพื้นฐานทางด้านครอบครัวหรือมีปัญหาส่วนตัว ครูอย่าโกรธตอบเพราะเรื่องรุนแรงมากยิ่งขึ้น การมองเด็กด้วยการพิจารณาและไตร่ตรองงอย่างรอบคอบจะลดปัญหาการขัดแย้งลง เช่น เด็กบางคนถามปัญหาให้ครูตอบ เมื่อครูตอบแล้วเด็กก็ตอบว่า “ยังกังขาอยู่” แทนที่ครูผู้นั้นจะใช้อารมณ์โต้ตอบ ก็พูดด้วยน้ำเสียงธรรมดาว่า “ถ้ายังกังขาอยู่ ก็เอาไปนอนคิด ถ้ายังมีปัญหาอีกก็เอามาถามในชั่งโมงเรียนต่อไป” แล้วครูก็สอนบทเรียนต่อไป และในทุกๆชั่งโมงครูก็ไม่เคยมีปฏิกิริยาใดๆต่อเด็กที่ก้าวร้าวคนนั้น ผลปรากฏว่าเด็กคนนั้นค่อยๆประพฤติตนเป็นคนดี มีวาจาสุขภาพขึ้น และรู้สำนึกถึงการแสดออกอันไม่งดงามของตนเอง

ปัญหาการขัดแย้งในชั้นเรียน ผู้แนะแนวสามารถให้ความช่วยเหลือแก่เด็กได้ โดยช่วยให้เด็กได้รู้จักและเข้าใจตนเอง รู้จักสิ่งที่ถูกที่ควร เด็กก็จะรู้จักการปฏิบัติตนที่เหมาะสมภายในชั้นเรียนต่อไป ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเด็กจะสามารถแก้ด้วยตัวของเขาเอง

1.3 ปัญหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกับเพื่อนฝูง เด็กบางคนเข้าพึ่งบริการแนะแนว มีสาเหตุมาจากการเข้ากับเพื่อนไม่ได้ มีปัญหาการขัดแย้ง ถูกว่ากล่าวเสียดสี ถูกเพื่อนรุมเล่นงาน หรือเพื่อนชอบนำปมด้อยของตนออกมาล้อเลียนก่อให้เกิดปัญหาทุกข์ใจ เรียนไม่รู้เรื่อง การเข้าพึ่งบริการแนะแนวช่วยให้เด็กมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหา และขจัดข้อขัดแย้งของตนเองกับเพื่อนฝูงได้

1.4 ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการเรียน สิ่งแวดล้อมในการเรียนที่ไม่ดี เช่น เสียงดังรบกวน มีกลิ่นเหม็น ทำให้ขาดสมาธิในการเรียน

1.5 ปัญหาจากการเลือกวิชาเรียน ไม่สามารถเลือกวิชาเรียนทีคิดว่าตนเองชอบได้ เกิดความไม่แน่ใจว่าจะเลือกวิชาอะไรดีจึงจะเหมาะสมกับสติปัญญาและความสามารถของตนเอง

1.6 ปัญหาเกี่ยวกับความท้อแท้ในการเรียน ขาดความสนใจและความตั้งใจในการเรียนเบื่อหน่าย อยากจะหนีโรงเรียน สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่มักจะพบอยู่เสมอ ผู้แนะแนวจึงมีหน้าที่ช่วยขจัดปัญหา ช่วยให้เด็กคิดถึงความถูกต้องเหมาะสม เกิดความเข้าใจตนเองว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด และการกระทำอย่างไรจะนำไปสู่ความก้าวหน้าหรือความมั่นคงของอนาคต เด็กจะเข้าใจและมองเห็นด้วยตนเอง

1.7 ปัญหาไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับการเรียน เกิดปัญหาเศรษฐกิจรัดตัว เด็กต้องช่วยพอแม่ทำงานบ้าน หรือรับจ้างทำงานหลังเลิกเรียนแล้ว จึงทำให้เด็กไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำการบ้านต้องถูกทำโทษ ทำให้เด็กเกิดความกังวลใจ สิ่งเหล่านี้ครูจำเป็นต้องพิจารณาใคร่ครวญให้ดีก่อนที่จะทำโทษเด็ก ต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนทำโทษ แต่ก็ไม่ใช่เชื่อที่เด็กพูดหรือบอกในทันทีทันใด เพราะเด็กไม่ทำการบ้านนั้น ส่วนมากมักจะเกียจคร้าน หรือเด็กบางคนอาจจะลืมก็เป็นไปได้ แต่ถ้าปัญหาเกิดจากไม่ทำการบ้าน เพราะจากหลังจากรับจ้างทำงานเสร็จก็ดึกมากแล้ว เด็กจำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ครูต้องติดตามดูแลพฤติกรรมของเด็กโดยติดต่อทางบ้านเพื่อให้ทราบแน่ชัดแล้วพยามหาทางช่วยเหลือ ให้รู้จักใช้เวลาว่างระหว่างหยุดพักกลางวันทำการบ้าน หรือหาวิธีการที่เหมาะสมที่ช่วยเหลือเด็กต่อไป

2.ปัญหาทางด้านครอบครัว ครอบครัวเป็นสถานที่สำคัญแห่งแรกของเด็ก ถ้าเด็กอยู่ในครอบครัวที่มีความสุข เด็กก็จะหมดปัญหาปราศจากความเดือดร้อน ถ้าครอบครัวมีปัญหา เด็กจะเกิดปัญหาขึ้นทันที ปัญหาทั่วๆไปที่เด็กต้องหันเข้าปรึกษาบริการแนะแนวมีดังนี้

2.1 ปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจของครอบครัว เด็กที่มาจากครอบครัวที่ยากจน ต้องหาเช้ากินค่ำ พ่อแม่ไม่เงินส่งเสียให้เล่าเรียน เพราะแม้แต่หาเงินมาเพื่อใช้จ่ายในวันหนึ่งๆก็เกือบจะไม่พอใช้จ่ายอยู่แล้ว เด็กประเภทนี้จะมีปัญหาในการจ่ายเงินค่าเล่าเรียน และจ่ายเงินค่าหนังสือเรียน รวมทั้งอุปกรณ์ในการเรียน ปัญหาทางด้านฐานะของครอบครัวจึงนับว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของการแนะแนว เพราะส่วนมากปัญหาดังกล่าวมักจะเป็นปัญหาที่มากอันดับหนึ่ง ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจสมควรที่จะได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ถ้าผู้แนะแนวพยายามหาทุนการศึกษาให้เด็กยากจน โดยขอความร่วมมือจากผู้มีฐานะทางการเงินดี และยินดีจะจ่ายเงินเพื่อเป็นการกุศล ปัญหาเหล่านี้ก็จะสามารถขจัดไปได้พอสมควร

2.2 ปัญหาการอย่าร้างของบิดามารดา ปัจจุบันการอยู่ร่วมกันภายในครอบครัว จะเกิดการขัดแย้งระหว่างสามีภรรยามากกว่าในสมัยก่อน ทั้งนี้เพราะสมัยก่อนหญิงต้องพึ่งชายและอยู่ในโอวาทของชาย ถือว่าเป็นผู้นำของครอบครัว ปัญหายุ่งยากจึงไม่เกิดขึ้น เพราะมีฝ่ายยอมแพ้ แต่ในสมัยปัจจุบันหญิงออกไปทำงานนอกบ้าน สามารถหาเงินใช้ได้เอง จึงทำให้เกิดมีข้อต่อรอง ไม่ยอมแพ้ซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาต่างคนต่างรุนแรง ใช้อารมณ์ แทนที่จะค่อยๆหันหน้าปรึกษาหารือกันก็กลายเป็นการทะเลาะวิวาทกัน อันนำไปสู่การอย่าร้าง ซึ่งการอย่าร้างนั้นนอกจากจะสร้างขมขื่นทรมานใจให้กับตนเองแล้ว ยังส่งผลกระทบโดยตรงไปถึงบุตร บุตรจะรู้สึกว่าตนเองขาดที่พึ่ง ขาดความรักความอบอุ่น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กประพฤติตนไปในทางที่ผิด กลายเป็นปัญหาสังคมไป บริการแนะแนวมีหน้าที่ชี้ให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจอันดีงาม และนำตนไปสู่อนาคตที่มั่นคง ถ้าหากผู้แนะแนวมีความรู้ความสามารถอย่างดี จะทำให้เด็กที่มีสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด มีรอยประทับใจที่ไม่ดีสามารถนำสิ่งต่างๆที่เป็นปัญหาชีวิตในวัยเด็กไปใช้ในการดำเนินชีวิตในวัยผู้ใหญ่ ระมัดระวังในการเลือกคู่ครอง การรู้จักปรับตัวเข้าหากัน และอยู่ร่มกันอย่างสันติสุข ไม่สร้างปัญหาให้กับลูกๆของเขาอีก

2.3 ปัญหาที่เกี่ยวกับอารมณ์ของบิดามารดา สาเหตุที่บิดามารดาออกไปทำงานนอกบ้าน เมื่อกลับมาถึงบ้านก็เหน็ดเหนื่อย ยังต้องมาเผชิญกับปัญหาต่างๆภายในบ้านอีก เมื่อต่างคนต่างเหนื่อย อารมณ์ก็ขุ่นมัว กลายเป็นการโต้แย้ง ถกเถียงกันและทะเลาะวิวาทกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทะเลาะวิวาทเมื่อเกิดขึ้นแล้วครั้งแรกก็ย่อมต้องมีครั้งต่อๆไป มักจะเห็นว่าภรรยาคู่ใดที่ชอบทะเลาะวิวาทกัน มักจะเกิดเป็นความเคยชินจนเป็นนิสัย วันไหน ไม่ทะเลาะกันก็จะกลายเป็นเรื่องผิดปกติภายในครอบครัว กลายเป็นกิจวัตรประจำวันที่จะต้องทะเลาะเบาะแว้งกัน เมื่อทะเลาะวิวาทก็เกิดอารมณ์เสีย พาลดุด่าทุบตีบุตรต่อไป บุตรก็เกิดความทุกข์ คับข้องใจ ไม่เข้าใจปัญหาต่างๆซึ่งอาจทำให้เด็กคิดมาก วิตกกังวล กลายเป็นเด็กมีปัญหาไปได้ การพึ่งบริการแนะแนวจะทำให้เด็กได้รับความรู้ที่ถูกต้อง เข้าใจสภาพที่แท้จริงของบิดามารดามากขึ้น แทนที่จะมองบิดามารดาแบบตำหนิโกรธเคือง เขาจะมองบิดามารดาด้วยความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจว่าบิดามารดาต้องเหน็ดเหนื่อยจากการทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว เขาจะพยายามช่วยลดความตึงเครียดภายในครอบครัว ไม่ทำอะไรขัดใจบิดามารดา

2.4 ปัญหาความหงอยเหงาหว้าเหว่ เมื่อเด็กถูกละเลย ทอดทิ้งให้หว้าเหว่ตามลำพัง ขาดคนดูแลเอาใจใส่ ขาดความรัก ความอบอุ่นมักจะรู้สึกว่าเพื่อนฝูงของเขามีบิดามารดาอยู่ใกล้ชิด พาออกไปเที่ยวสนุกสนานร่วมกันในวันหยุด แต่เขากลับถูกทอดทิ้งให้อยู่หว้าเหว่เดียวดาย เด็กประเภทนี้จะคิดมาก วิตกกังวล คับข้องใจ ไม่เข้าใจว่าทำไมบิดามารดาต้องอกไปทำงานนอกบ้าน หรือบางครั้งแม้แต่วันหยุดยังจะต้องออกไปทำงานอีก เด็กจะไปไม่เข้าใจความจำเป็นของบิดามารดาที่ต้องสร้างหลักฐานและความมั่นคงให้กับครอบครัว เด็กจะคิดออกนอกลู่นอกทาง แทนที่จะอยู่ดูหนังสือที่บ้านกลับหนีออกไปเที่ยวเตร่ จะกลับถึงบ้านก่อนเวลาที่บิดามารดาจะกลับเล็กน้อยเท่านั้น เด็กที่มีพฤติกรรมดังกล่าวจะกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา การชี้ให้เด็กมองเห็นปัญหาต่างๆจะทำให้เด็กมองโลกในแง่ดี เข้าใจสภาพแวดล้อมอย่างถูกต้องตรงกับความเป็นจริง

2.5 ปัญหาบิดามารดาเข้มงวดเกินไป เด็กที่มีปัญหาดังกล่าวจะขอความเห็นอกเห็นใจจากผู้แนะแนว ให้ช่วยแก้ไขปัญหาไม่ให้บิดามารดาเข้มงวดกวดขันมากเกินไป ทั้งนี้เพราะบิดามารดามักจู้จี้ ชอบบ่นดุด่า ให้ทำการบ้านบ้าง ไม่ให้เล่นเกมส์มากเกินไปบ้าง กลับบ้านผิดเวลาบ้าง ถึงเวลาจะเข้านอนแล้วบ้าง เด็กมีความรู้สึกว่าตนเองขาดอิสรภาพ ไม่มีเสรีภาพในการทำสิ่งที่ตนเองพอใจ ทำให้เกิดปัญหาคับข้องใจ ผู้แนะแนวมีหน้าที่ช่วยเหลือให้เด็กมองเห็นถึงความรักความหวังดีของพ่อแม่ การที่พ่อแม่ปรารถนาดีทำให้เข้มงวดกวดขันมากไปบ้างก็เพราะเกรงว่าลูกจะประพฤติตนไปในทางที่ไม่ดี ไม่มีพ่อแม่คนใดไม่รักไม่ห่วงลูก การรักลูกให้ถูกทางคือ การไม่ตามใจลูกมากจนเกินไป ไม่ตามใจให้กระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม การเตือนการบอกกล่าวเป็นเรื่องที่พ่อแม่พึงกระทำเพราะจะทำให้ลูกประพฤติตนไปในทางที่ถูกต้อง รู้จักและเข้าใจตนเอง ในขณะเดียวกันจะทำให้เด็กเกิดความซาบซึ้งในพระคุณของพ่อแม่ที่มีความตั้งใจที่จะเห็นลูกของตนเป็นคนดี และประสบความสำเร็จในชีวิตต่อไป ทำให้ลูกเข้าใจว่าความรักที่ถูกต้องของพ่อแม่นั้นเข้ากับคติที่ว่า “เลี้ยงวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”

2.6 ปัญหารนการขัดแย้งภายในครอบครัว ปัญหานี้เกิดจากความวุ่นวายในใจ การอิจฉาริษยากันเองในระหว่างพี่น้องซึ่งพัวพันไปถึงพ่อแม่อีก เด็กอาจจะคิดน้อยใจไปว่าพ่อแม่รักพี่มากกว่าหรือรักน้องมากกว่า คิดไปเรื่อยๆ และในที่สุดคิดว่าพ่อแม่ไม่ยุติธรรม รักลูกไม่เท่ากัน ปัญหาแบบนี้เด็กจะอึดอัด ฟุ้งซ่าน เป็นบ่อเกิดของความมีนิสัยอันธพาลกลายเป็นเด็กเกเรไปได้ การที่เด็กมองภาพพจน์ไปเช่นนั้น ผู้แนะแนวควรที่จะชักจูงเด็กกลับมาสู่ทิศทางที่ถูกต้อง ชี้ให้เห็นถึงลักษณะและพฤติกรรมของตนเองว่าตนเองมีสิ่งใดที่พ่อแม่ตำหนิหรือไม่ถูกต้อง ชี้ให้เห็นว่าพี่หรือน้องของเขามีคุณงามความดีอะไรบ้าง ที่ทำให้ดูเหมือนว่า พ่อแม่รักเขามากว่าตัวเรา การชี้ให้เด็กเห็นถึงสิ่งดังกล่าว เด็กจะเริ่มเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เลิกหรืองดเว้นพฤติกรรมที่ตนเองกระทำอันเป็นบ่อเกิดที่ทำให้พ่อแม่ไม่พอใจ และหันเข้าหาพฤติกรรมที่พ่อแม่พอใจ สิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้

2.7 ปัญหาเกี่ยวกับสภาพที่อยู่อาศัย เด็กบางคนมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เช่น อยู่กันอย่างแออัดภายในบ้าน นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมรอบๆบ้านยังแออัดยัดเยียด อยู่ในแหล่งสลัม ย่านอันธพาล อยู่ใกล้บ้านหญิงโสเภณี ได้เห็นพฤติกรรมการแสดงออกต่างๆอันไม่เหมาะสมมากมาย อันจะเป็นตัวอย่างอันไม่งาม ปัญหาเหล่านี้ผู้แนะแนวจะพยายามเน้นให้รู้จักคิดและเป็นตัวของตัวเอง แยกแยะสิ่งที่ดีและไม่ดีออกจากกันให้ได้ เลือกคิดเฉพาะสิ่งดี สิ่งที่สังคมยอมรับ

3. ปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพ บุคลิกภาพนับเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ที่มีบุคลิกลักษณะท่าทางดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมได้เปรียบเหนือกว่าผู้ที่มีข้อบกพร่องในสิ่งเหล่านั้น เด็กที่มีปัญหาบุคลิกภาพมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัว เด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพมักจะเป็นปัญหาดังต่อไปนี้

3.1 ปัญหาเกี่ยวกับความพิการทางร่างกาย ความพิการของร่างกายทำให้เสื่อมเสียบุคลิกภาพ เกิดปมด้อย เช่น ตาเหล่ ขาเป๋ ขาลีบเล็ก จมูกโต จมูกบี้ จมูกโหว่ ปากแบะ ปากเบี้ยว สูงเกินขนาด เตี้ยมาก หน้าตาผิดปกติ เป็นต้น

3.2 ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ร่างกายไม่แข็งแรงมีอาการออดๆแอดๆป่วยเป็นประจำ เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย กลายเป็นคนที่เสียบุคลิกภาพ กลายเป็นปมด้อยไป

3.3 ปัญหาทางด้านสายตา เด็กบางคนสายตาสั้น สายตาเอียงแต่รักสวยรักงาม ไม่อยากสวมแว่นตากลัวไม่หล่อ ไม่สวย เกิดความวิตกกังวลคิดมาก

3.4 ปัญหาเกี่ยวกับหู เด็กบางคนมีอาการหูตึง ฟังไม่ชัด เป็นสาเหตุให้เรียนไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจบทเรียน เด็กที่มีปัญหาเช่นนี้ ควรชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการเรียน ไม่ควรปล่อยอาการเหล่านั้นไว้ จะทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเรียนขึ้น ควรแนะนำให้ปรึกษาแพทย์

3.5 ปัญหาการพูดติดอ่าง เด็กบางคนพูดไม่ชัดชอบพูดติดอ่าง ถูกเพื่อนล้อเลียนเกิดความละอายใจ สร้างปัญหาด้านบุคลิกภาพ การที่ผู้แนะแนวเอาใจใส่ดูแล สร้างความมั่นใจให้แก่เด็กประเภทนี้ ไม่ตกใจในปัญหาใดๆ ค่อยๆพูด ช้าๆ ใจเย็นๆ จะทำให้เด็กหายจากโรคติดอ่างได้

3.6 ปัญหาความเชื่อมั่นและการขาดความมั่นใจในตนเอง เด็กบางคนมีความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของใครง่ายๆ ก่อให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งตรงข้ามกับเด็กบางคนที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่สามารถคิดและปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพราะขาดความมั่นใจ เด็กทั้งสองประเภทนี้จะมีบุคลิกภาพไปในทางที่สังคมไม่ยอมรับ กลายเป็นเด็กมีปัญหาในที่สุด

การที่บุคคลมีความเชื่อมั่นในตนเอง ถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ต้องสามารถยืดหยุ่นได้ บางครั้งต้องฟังเหตุผล ใช้สติปัญญาไตร่ตรองอีกครั้งหนึ่ง การที่บุคคลมีความเชื่อมั่นในตนเองจะเป็นแนวทางสู่ความสำเร็จ ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ แต่ความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป โดยเฉพาะเชื่อมั่นไปในทางที่ผิดก็ทำให้บุคคลประสบความล้มเหลวได้เช่นกัน ส่วนบุคคลที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเองมักจะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต

3.7 ปัญหาทางอารมณ์ ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้บุคคลมีความบุคลิกภาพไปในทางที่สังคมไม่ยอมรับ ก็คือ การไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ มีนิสัยเอาแต่ใจตนเอง ชอบแสดงออกในลักษณะก้าวร้าว ชอบต่อต้านผู้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้

3.8 ปัญหาของการไม่กล้าแสดงออก เด็กบางคนมินิสัยขี้อาย ไม่กล้าแสดงออกหรือปรากฏตัวต่อหน้าคนมากๆ ความขลาดกลัว ทำให้เด็กมีบุคลิกภาพที่หลบๆซ่อนๆ ไม่ค่อยกล้าแสดงตัว

3.9 ปัญหาเกี่ยวกับความวิตกกังวลมากเกินไป เด็กบางคนชอบคิด ชอบวิตกกังวลไปทุกเรื่อง มีนิสัยชอบตีตนไปก่อนไข้ คิดหวาดกลัวเกินกว่าเหตุ ความวิตกกังวลมากเกินไปทำให้บุคลิกภาพที่แสดงถึงความหวาดกลัว ตื่นเต้นตกใจง่าย ขาดความเป็นตัวของตัวเองหรือขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง

3.10 ปัญหาความไม่สนใจในกิจกรรมใดๆ เด็กบางคนมีบุคลิกลักษณะไปในทางเงียบเหงา ไม่สนใจที่จะร่วมกิจกรรมใดๆ ชอบอยู่นิ่งๆ เฉยๆ ไม่ทราบว่าตนเองจะทำอะไร ไม่มีความรู้สึกอยากร่วมในกิจกรรมของชั้นเรียนหรือกิจกรรมของกลุ่ม

3.11 ปัญหาที่ไม่สามารถทำกิจกรรมเองได้ เด็กบางคนเกิดความวุ่นวายในใจในการร่วมกิจกรรม ไม่สามารถร่วมกิจกรรมที่ตนเองชอบได้ เพราะสาเหตุมาจากตนเองมีเวลาว่างน้อยเกินไป ทำให้เกิดความขับข้องใจที่ตนเองมีความปรารถนาจะทำ

4.ปัญหาเกี่ยวกับอาชีพ เด็กส่วนมากจะมีปัญหาเกี่ยวกับอาชีพนี้

4.1 ปัญหาความสับสนในการเลือกอาชีพ เด็กบางคนเกิดความสับสน ขาดความมั่นใจในการเลือกอาชีพและไม่มั่นใจว่าตนเองจะเลือกอาชีพอะไรดี

4.2 ปัญหาบิดามารดาบังคับให้ประกอบอาชีพที่ตนไม่ชอบ การที่บิดามารดาชอบเข้าไปวุ่นวายกับการเลือกอาชีพของบุตร จะทำให้เกิดปัญหาได้เฉพาะอาชีพที่บิดามารดาต้องการให้บุตรทำนั้นเป็นอาชีพที่บุตรไม่ชอบและไม่ถนัด การที่ต้องประกอบอาชีพที่ตนไม่พอใจ จะมีผลทำให้เกิดความล้มเหลวในอาชีพได้

4.3 การเลือกอาชีพที่ตนเองไม่ถนัด เด็กบางคนเลือกอาชีพตามเพื่อน หรือเกิดความพอใจที่จะเลือกอาชีพที่ตนเองไม่ถนัดหรือไม่มีความสามารถที่จะทำได้ ผลลัพธ์ก็คือ ความล้มเหลวในการประกอบอาชีพ ฉะนั้นการเลือกอาชีพต้องใช้ความระมัดระวัง รู้จักเข้าใจตนเองอย่างดี และพิจารณาว่าอาชีพอะไรเหมาะสมกับตนเอง

4.4 ปัญหาความไม่สามารถปรับตนเองเข้ากับอาชีพที่ตนกระทำอยู่ได้ การที่บุคคลประสบปัญหาในที่ทำงานอาจจะเกิดจากอุปสรรค์หลายประการ เช่น ความไม่พอใจในงานที่ตนเองจะทำ ไม่พอใจผู้บังคับบัญชา หรือเกิดข้องขัดแย้งอย่างรุนแรงกับผู้ร่วมงาน การที่บุคคลไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอาชีพเข้ากับตนเองได้ย่อมจะมีอุปสรรค์ในการดำเนินอาชีพนั้นๆ

5.ปัญหาเกี่ยวกับสังคม โดยทั่วไปเด็กจะมีปัญหาด้านสั่งคม ดังต่อไปนี้

5.1 การชอบอยู่โดดเดียว ไม่ชอบคบค้าสมาคมกับเพื่อนฝูง ไม่สนใจเพื่อนฝูงชอบอยู่ตามลำพัง

5.2 มีนิสัยก้าวร้าว ชอบเยาะเย้ย ถากถาง ชอบนำปมด้อยของผู้อื่นมาพูดเป็นเรื่องตลกขบขัน มารยาทไม่ดี หยาบคาย

5.3 มีนิสัยชอบจับผิดผู้อื่น ชอบยุ่งเรื่องของผู้อื่น ชอบนินทาว่าร้าย ชอบยกตนข่มท่าน

5.4 ชอบสังคมมากเกินไป ชอบสนุกสนาน เที่ยวเตร่กับเพื่อนฝูง ชอบคบเพื่อนที่ไม่ดี

5.5 มีความเห็นแก่ตัว ไม่ยอมเสียสละเพื่อส่วนร่วม ไม่ยอมให้ความสำคัญกับเพื่อนฝูงชอบเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น

ปัญหาดังกล่าวมาแล้วนั้น เป็นปัญหาที่ผุ้แนะแนวจะพบอยู่เสมอ การแก้ไขปัญหาหรือวิธีการช่วยเหลือเด็กนั้น จะมุ่งให้เด็กศึกษาปัญหาให้ละเอียด เรียนรู้ที่จะเข้าใจปัญหา และเข้าใจตัวเอง แล้วจึงค่อยหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งเด็กจะมองหาวิธีปัญหาด้วยตัวของเขาเอง

ประโยชน์ของการแนะแนว

การแนะแนวนับว่ามีประโยชน์มากมายต่อนักเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม การที่ผู้เรียนขาดประสบการณ์ ขาดผู้ให้การช่วยเหลือชี้แนวทางในการดำเนินชีวิต เป็นเหตุให้ต้องดำเนินชีวิตผิดพลาด ประสบกับปัญหาบางอย่างที่ร้ายแรงอาจจะทำลายอนาคตได้ เป็นการสายกว่าที่จะแก้ไข การจัดบริการแนะแนวจะช่วยจัดการปัญหาทุกๆด้าน ช่วยให้นักเรียนมองเห็นปัญหาแล้วเกิดความกระจ่างขึ้นในใจ สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง ยอมรับสภาพแท้จริงของตนเอง พยายามที่จะช่วยเหลือให้ได้มากที่สุด รู้จักระมัดระวังในการดำเนินชีวิต รู้จักตั้งเป้าหมายของชีวิต ความสำเร็จของมนุษย์อยู่ที่การรู้จักกำหนดเป้าหมายที่อยู่ในความสามารถของตนเองที่จะก้าวไปถึง ไม่เกลียดคร้านรอคอยโชคชะตา บุคคลที่มีหลักในการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของการแนะแนวจะเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต

คุณประโยชน์ของการแนะแนวมีมากมายซึ่งผู้เรียนจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจการแนะแนวเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนลึกซึ่ง เมื่อบุคคลนำไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมจะทำให้กลายเป็นบุคลประสบความสำเร็จในชีวิต ปราศจากความทุกข์ดำเนินชีวิตภายใต้หลักเกณฑ์จะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข

การที่ผู้สอนสามารถเข้าใจแนะแนวอย่างลึกซึ่งและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเองได้ จะเกิดความศรัทธาเสื่อมใส ยอมเชื่อฟัง นำหลักและวิธีการต่างๆ ไปปฏิบัติปรับปรุงสุขภาพจิตและสุขภาพทางกายให้สมบรูณ์ กลายเป็นบุคคลที่ปราศจากปัญหา คือรู้จักแนวทางในการป้องกันปัญหา และแก้ไขปัญหาได้อย่างดี

ขอสรุปประโยชน์ของการแนะแนวไว้ดังนี้

1 .ช่วยให้นักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้อย่างถูกวิธี ช่วยให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน

2 .ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนไปตามถนัดของตนเอง สามารถเลือกวิชาหาความรู้ความสามารถของตนเอง

3. ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการศึกษาทำให้เกิดความสนใจในการเรียนพอใจที่จะศึกษาหาความรู้

4.ช่วยให้โรงเรียนสามารถจัดวิชาเรียนได้สนองความต้องการของนักเรียน รู้ว่าวิชาใดควรจัดและเหมาะสมกับผู้ใด

5.ช่วยป้องกันปัญหาต่างๆโดยการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อช่วยให้นักเรียนประสบกับปัญหา ไม่ต้องเผชิญกับปัญหา

6.ช่วยให้นักเรียนรู้จักคิด และร่วมกิจกรรมต่างๆไปตามความพอใจและความสามารถของตนเอง

7.ช่วยให้นักเรียนสามารถเลือกอาชีพไปตามความถนัดขิงตนเอง อันจะเป็นแนวทางไปสู่ความสัมฤทธิ์ผลในวิชาที่ตนเองเลือกเรียน

8.ช่วยให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดและปฏิบัติสิ่งใหม่ๆได้ด้วยตนเอง สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง

9.ช่วยให้นักเรียนได้มีพัฒนาการไปอย่างถูกหลักวิธี โดยมีการพัฒนาไปพร้อมๆกันๆทั้งร่างกาย สมอง อารมณ์ และสังคม

10.ช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น

11.ช่วยให้นักเรียนรู้จักรักษาระเบียบวินัย และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม รู้จักหน้าที่ของตนเองในฐานะพลเมืองที่ดีของชาติ และเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว มีมานะอดทนขยันหมั่นเพียรเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ

12.ช่วยให้นักเรียนเข้าใจตนเอง รู้จักตัวของตัวเองอย่างแท้จริง รู้จักคิดและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง รู้จักวางแผนชีวิตในอนาคตและดำเนินชีวิตไปตามที่ตนเองต้องการ

13.ช่วยให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบๆตัวรู้จักและเข้าใจบุคคลอื่น มีความเห็นอกเห็นใจและสามารถทำงานร่มกับผู้อื่นได้ดี เป็นที่ยอมรับของสังคม ทำให้เกิดความอบอุ่นในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น สามารถทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้

14.ช่วยให้นักเรียนเป็นคนที่มีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์เป็นเครื่องตัดสินปัญหา รู้จักคุณค่าของตนเองและนำคุณค่าของตนเองไปใช้ให้เป็นประโยชน์

15.ช่วยให้ครูและนักเรียนรู้สาเหตุของพฤติกรรม เพื่อหาทางช่วยขจัดปัญหาได้ต่อไป

บทสรุป

การแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโดยมีบทบาทส่งเสริมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลกที่ดี งานบริการแนะแนวหรืองานพัฒนาผู้เรียนจึงถูกจัดขึ้นในโรงเรียนเพื่อเกื้อหนุนและส่งเสริมนักเรียนให้พร้อมที่จะพัฒนาและเติบโตไปสู่การดำเนินชีวิตทุกด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านส่วนตัว สังคมได้อย่างเหมาะสมเป็นตัวของตัวเอง จึงนับว่าการแนะแนวเป็นงานบริการที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเยาวชนของชาติ จึงเป็นบริการสำคัญที่ต้องจัดให้แก่นักเรียนในโรงเรียนทุกระดับ

การดำเนินการแนะแนว

ประเภทของการแนะแนว

การแนะแนวเริ่มต้นด้วยการแนะแนวอาชีพ ต่อมาจึงมีการบริการแนะแนวต่างๆเกิดขึ้นมากมาย

การแนะแนวสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภทคือ

1.การแนะแนวการศึกษา (Educational Guidance) เป็นการแนะแนวภายในสถานศึกษาเป็นกระบวนการหรือวิธีการต่างๆที่ช่วยให้บุคคลมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา รู้จักการเรียน การศึกษาค้นคว้า รู้จักหลักเกณฑ์ในการเลือกวิชาเรียนหรือโปรแกรมการเรียน รู้จักเลือกสถานที่เรียน รู้จักวิธีการป้องกันปัญหาในการเรียน รู้จักแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเรียน ช่วยให้มีความสามารถในการวางแผนชีวิตเกี่ยวกับด้านการศึกษาในอนาคตของตนเอง และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพชีวิตภายในโรงเรียนได้

ในการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการเลือกวิชาเรียนหรือการเลือกโปรแกรมควรใช้เวลาพอสมควร การที่จะ 1.1 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเกี่ยวกับสิ่งที่ตนจำเป็นจะต้องเลือก ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการแนะแนวทางการเรียนการเลือกโปรแกรม ดังนี้

1.2 ชี้แจงเรื่องโปรแกรมในชั่วโมงกิจกรรมแนะแนว ซึ่งต้องทำติดต่อกันมาเป็นเวลานานพอสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน

1.3 แจกเอกสารรายละเอียดคำอธิบายรายวิชาต่างๆที่นักเรียนจะเลือก วิชาไหนต้องเรียนก่อน เรียนหลัง

1.4 แจกคู่มือโปรแกรมต่างๆเพื่อที่จะให้นักเรียนมองเห็นโครงร่างของโปรแกรมที่จะเรียน

ให้บริการปรึกษาเป็นการส่วนตัวทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง

การแนะแนวการศึกษา มีหลักสำคัญที่ครูต้องยึดถือ คือ ช่วยให้เด็กรู้จักและเข้าใจตนเอง เข้าใจวิชาที่เรียน ต้องวางจุดมุ่งหมายที่แน่นอนของชีวิตไว้

ผู้แนะแนวการศึกษา มุ่งส่งเสริมให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับสภาพที่แท้จริงของตนเอง ดังนี้

1.รู้จักระดับสติปัญญาและความสามารถของตนเอง โดยดูจากผลการเรียน ความสนใจและทัศนคติที่ดีต่อการเรียน ความเข้าใจในการเรียน

2.ดูความถนัดของตนเอง เพื่อแนวทางในการสัมฤทธิ์ผลในการเรียน ต้องทราบว่ามีความถนัดพิเศษในด้านใดบ้าง

3.สุขภาพ สุขภาพร่างกายของตนเองสามารถที่จะศึกษาเล่าเรียนวิชาที่ตนเองต้องการได้หรือไม่ บุคคลที่อ่อนแอเจ็บไข้ ออดๆแอดๆจะเป็นอุปสรรคในการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างมากต้องพิจารณาเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง ก่อนจะเลือกวิชาเรียน

4.สุขภาพจิต จึงเกิดจากปัญหาทางบ้าน อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างมาก เป็นความไม่สงบสุขภายในครอบครัว ปัญหาการแตกร้าวจะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียนได้ ทำให้การเรียนต่ำลง ขาดประสิทธิภาพในการเรียน

5. ทุนทรัพย์ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ในการเลือกวิชาเรียนก่อนที่จะเลือกวิชาเรียนใดต้องตรวจดูว่าตนเองมีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะจับจ่ายใช้สอยเกี่ยวกับวิชานั้นได้หรือไม่ ถ้ามีปัญหาให้เลือกวิชาเรียนที่มีค่าใช้จ่ายน้อย

ผู้แนะแนวต้องช่วยเหลือให้เด็ก ได้รู้จักวิชาที่ตนเองเรียนอย่างแท้จริง ช่วยให้รู้จักวางเป้าหมายของชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพที่แท้จริงของตนเอง ไม่ใช่วางเป้าหมายสูงหรือต่ำเกินความเป็นจริง

2.การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance) เป็นกระบวนการหรือวิธีการต่างๆที่ช่วยให้บุคคลมีการพัฒนาการทางด้านอาชีพ สามารถเลือกอาชีพได้เหมาะสมกับสภาพของตนเอง รู้จักเตรียมตัวในการประกอบอาชีพตามความสามารถของตนเอง รู้จักโลกอาชีพ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างดี และมีความก้าวหน้าในอาชีพที่ตนปฏิบัติอยู่

การแนะแนวอาชีพและการแนะแนวการศึกษามักจะต่อเนื่องกัน บุคคลจะเลือกศึกษาเล่าเรียนไปตามความถนัดและสายอาชีพที่ตนเองต้องการ บริการแนะแนวจะให้ความช่วยเหลือเพื่อให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพตามอัตภาพของตนเอง

การช่วยเหลือหรือแนะแนวในการประกอบอาชีพนั้นจะมีการช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้

1. ช่วยบุคคลในการพิจารณาตัดสินใจเลือกอาชีพ

2. เตรียมตัวเข้าประกอบอาชีพ

3. การเข้าทำงาน

4. ช่วยให้ปรับตัวเข้ากับหน้าที่การทำงานที่ตนเองปฏิบัติ

การแนะแนวอาชีพ ต้องคำนึงถึงหลัก 3 ประการ ดังนี้

1. ช่วยให้บุคคลเข้าใจคุณสมบัติ ภูมิหลัง สภาพแวดล้อม ลักษณะความสามารถต่างๆรวมทั้งความสามารถพิเศษของตนเองเป็นอย่างดี และมีการพิจารณาอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม

2. ช่วยให้บุคคลรู้จักอาชีพต่างๆ อย่างละเอียด โดยศึกษาอาชีพทุกชนิดลักษณะงานของแต่ละอาชีพ โดยการจัดทำสมุดอาชีพ จัดงานวันอาชีพ รวบรวมประวัติของผู้ประกอบอาชีพต่างๆพาไปชมโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆการฉายภาพยนต์หรือสไตล์เกี่ยวกับอาชีพปฏิบัติงานของบุคคลแต่ละอาชีพ ความต้องการของตลาดแรงงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ และสภาพการทำงาน ให้บุคคลได้มีโอกาสพิจารณาแต่ละอาชีพทุกแงทุกมุมก่อนที่จะตัดสินใจเลือกอาชีพ

3. ช่วยให้บุคคลคิดและตั้งเป้าหมายในการประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับอัตภาพของตนเอง

สรุปกระบวนการแนะแนว เกี่ยวกับด้านอาชีพนี้จะเป็นการช่วยเหลือบุคคลดังนี้

-ช่วยให้บุคคลรู้จักและเข้าใจสภาพที่แท้จริงแห่งตน

-รู้จักโลกของอาชีพ เข้าใจในอาชีพต่างๆอย่างชัดเจน

-รู้จักตั้งเป้าหมายในการประกอบอาชีพ เลือกอาชีพ เตรียมตัวประกอบอาชีพ การลงมือปฏิบัติงาน และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพของหน้าที่การงานได้ดี

วัตถุประสงค์เกี่ยวกับการแนะแนวอาชีพมี ดังนี้

1. ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลผู้ประสบปัญหาเกี่ยวกับอาชีพ ให้สามารถช่วยเหลือตนเองในการแก้ไขปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง เช่น การสร้างนิสัยในการปฏิบัติงานที่ดี การปรับตัวให้เข้ากับสภาพของการงาน

2. ช่วยให้ผู้คิดจะประกอบอาชีพ ยอมรับต่อสภาพของความเป็นจริง เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ทัศนคติและความถนัดของตนเอง เป็นองค์ประกอบในการเลือกอาชีพ

3. ช่วยส่งเสริมให้บุคคลรู้จักวางเป้าหมายในการประกอบอาชีพและพยายามที่จะดำเนินไปสู่เป้าหมายที่ตนเองตั้งไว้

4. ช่วยให้ข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับโลกของแต่ละอาชีพ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเลือกอาชีพไดถูกต้อง ตรงตามความสามารถของตนเอง

5. ช่วยให้บุคคลได้รับผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ อันจะเป็นแนวทางสู่ความสำเร็จในชีวิตด้วย

การแนะแนวเกี่ยวกับการประกอบอาชีพนั้น ผู้แนะแนวต้องพยายามช่วยเหลือให้บุคคลได้ใช้ความสามารถของเขาตรงกับงานที่เขาเลือกให้มากที่สุด ซึ่งจำเป็นที่ผู้แนะแนวต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

-บุคคลคนหนึ่งอาจจะมีความสามารถในการประกอบอาชีพได้หลายๆอย่าง

-ในการเลือกอาชีพต้องคำนึงเสมอว่า อาชีพนั้นต้องเป็นอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถของบุคคลผู้นั้นมากที่สุด

-ในการเลือกอาชีพสามารถอนุโลมให้กับบุคคลที่มีความสามารถคล้ายๆกัน เลือกอาชีพอย่างเดียวกันได้

3.การแนะแนวเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance) เป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมได้ดี เป็นการพัฒนาการทางด้านสังคมของบุคคลให้รู้จักใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉลาด สามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น และปราศจากอุปสรรคใดๆในการดำเนินชีวิต

ปัญหาส่วนตัวและปัญหาสังคม จะถือเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งที่บุคคลจำเป็นต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถจะหลีกหนีไปให้พ้นได้ ผู้แนะแนวมีหน้าที่ช่วยเหลือให้ผู้ประสบปัญหาได้รู้จักแนวทางในการปฏิบัติตนเมื่อประสบปัญหา ดังนี้

1. ช่วยให้ศึกษาตนองอย่างละเอียด ทำความเข้าใจถึงสภาพที่แท้จริงของตนเอง

2. ศึกษาปัญหาต่างๆเกี่ยวกับจุดเริ่มแรกของปัญหา นำปัญหาเป็นศูนย์กลางแล้วศึกษาหาสาเหตุแห่งปัญหา

3. ใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาโดยมีการคิดทบทวนและรู้จักใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบในการแก้ไขปัญหา

ลักษณะของการแนะแนว

ลักษณะของการแนะแนวแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

1.การแนะแนวรายบุคคล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือนักเรียนแต่ละคนที่มีปัญหาให้สามารถปรับตัวพัฒนาตนเองและสามารถเลือกวิธีทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเองการให้บริการแนะแนวรายบุคคล ครูแนะแนวจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ได้รับการฝึกฝนอบรมมาแล้วเป็นอย่างดีในเรื่องการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา

การแนะแนวรายบุคคล ครุแนะแนวจะต้องศึกษาข้อมูลของเด็กอย่างละเอียดโดยศึกษาจากระเบียบสะสม การสังเกต การสัมภาษณ์ สังคมมิติ การทดสอบ ฯลฯ เพื่อรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด

2.การแนะแนวหมู่ (Group Guidance) การแนะแนวหมู่ หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลหลายคนที่มีปัญหาและมีความต้องการคล้ายคลึงกัน เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้พิจารณาปัญหาต่างๆร่วมกัน ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นอันเป็นแนวทางนำไปสู่การตัดสินใจแก้ปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสม

ขอบข่ายและโครงสร้างงานแนะแนว

งานแนะแนวเกี่ยวข้องกับปัญหาทุกดด้านไม่ว่าจะเป็น การเรียน อาชีพ ศีลธรรม วัฒนธรรม บุคลิกภาพ สุขภาพ และอื่นๆ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวคลุมเรื่องทุกเรื่องที่ทำให้คนเกิดปัญหาหรืองานแนะแนวเป็นการเตรียมตัวให้คนเผชิญปัญหาทุกปัญหาอย่างฉลาด

โครงสร้างงานแนะแนวจึงประกอบด้วยกระบวนการที่เป็นระบบ นั้นคือ เริ่มต้นจาก

1. บริการการศึกษาปัญหาหรือข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การเขียนอัตชีวประวัติ การทำสังคมมิติ การเยี่ยมบ้านฯลฯ โดยมีการบันทึกข้อมูลในรูปแบบระเบียนพฤติการณ์ระเบียนสะสมสมุดรายงานประจำนักเรียน เป็นตัน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ ครูแนะแนวทราบว่าเด็กแต่ละคนเป็นอย่างไร? ต้องการอะไร? ควรให้ความช่วยเหลือในลักษณะไหน? เมื่อทราบปัญหาและความต้องการแล้วจึงพิจารณาการบริการตามต้องการซึ้งได้แก่

2. บริการสารสนเทศ คือการให้ข้อมูลข่าวสารความรู้ที่จำเป็นในการตัดสินใจ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา การอาชีพ ศีลธรรม วัฒนธรรม สุขภาพ ฯลฯ ในรูปต่างๆเช่นการบรรยายอภิปราย การจักป้ายสนเทศ การจัดเอกสารให้นักเรียนอ่านการพานักเรียนไปทัศนศึกษาหรือ การนำสิ่งต่างๆ เข้ามาให้นักเรียนได้รู้เห็นในรูปแบบภาพยนต์ การสาธิต ฯลฯ การให้ข้อมูลความรู้นี้จำเป็นมาก หากเด็กมีข้อมูลมากเท่าใด และเป็นข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย จะช่วยให้เด็กสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น และป้องกันความล้มเหลวได้อย่างมาก

3. การบริการปรึกษาเชิงจิตยา การปรึกษาถือเป็นหัวใจสำคัญของการแนะแนวเพราะต้องอาศัยความรู้และเทคนิคขั้นสูง ซึ่งต้องใช้เวลาศึกษาเป็นเวลานานกว่าจะเกิดความชำนาญ ทั้งนี้เพราะบริการการปรึกษามิใช่การพูดคุยปลอบใจ หรือช่วยให้คนสบายใจไปชั่วคราวหรือให้คำแนะนำไปตามประสบการของผู้แนะแนว แต่การปรึกษามีจดมุ่งหมายที่ช่วยให้ผู้ที่มาปรึกษาเกิดความเรียนรู้ละเข้าใจตนเอง รู้ว่าปัญหาของเขาอยู่ตรงไหน ควรจะแก้ไขตัวเองอย่างไร การแก้ไขปัญหานั้นมีกี่ทางและควรแก้ทางใดจึงจะเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด พร้อมกับเกิดความรับผิดชอบในการช่วยเหลือตนเองอย่างจริงจัง และวิธีการให้คำปรึกษานั้น มีหลายแบบ ทั้งนี้ควรจะเลือกแบบไหนขึ้นอยู่กับชนิดของปัญหา และลักษณะของผู้มาปรึกษา รวมทั้งความรู้และบุคลิกภาพของผู้ให้บริการปรึกษาด้วย

4. บริการจัดวางตัวบุคคล การจัดวางตัวบุคคลหรอการจัดบุคคลให้ได้รับประสบการณ์ได้รับการฝึกฝน หรือได้รับสงเคราะห์ตามควรแก่กรณี เช่นเด็กยากจนขาดแคลนปัจจัยการศึกษา ก็ควรได้รับสงเคราะห์ในด้านการจัดหาทุนการศึกษา อาหารกลางวัน หรือหางานพิเศษให้เด็กทำ เด็กที่สนใจเรียนวิชาใดในโรงเรียนได้เลือกเรียนวิชาที่เค้าถนัดและสนใจอันนั้น เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมใด โรงเรียนก็น่าจะจัดให้มีชุมนุมต่างๆให้เด็กได้เลือกตามความต้องการ

5. บริการติดตามผลและประเมินผล บริการนี้ถือเป็นหลักฐานสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่าการจัดบริการแนะแนวเหล่านี้ ได้ผลหรือไม่ประการใด ควรปรับปรุงอะไรอีกบ้าง บริการนี้เปรียบเสมือนกระจกเงานั่นเอง

สรุปแล้วบริการทั้ง 5 ด้าน (กรมวิชาการ, 2523) เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันดังจะแสดงในรูปแผนภูมิดังนี้

สรุปโครงสร้างงานแนะแนว

บริการ

จุดมุ่งหมาย

วิธีการ

1. บริการสำรวจและศึกษาเด็ก

(Individual Inventory Service)

เพื่อรู้จักเด็กด้าน

สังเกต สัมภาษณ์ สอบถามทดสอบ สังคมมิติ อัตชีวปะวัติ ระเบียบสะสม การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล

2. บริการสารสนเทศ

(Information Service)

เพื่อให้ข่าวสาร ความรู้ที่จำเป็นแก่นักเรียนเกี่ยวกับการศึกษาอาชีพสังคม ฯลฯ

ปฐมนิเทศ ปัจฉิมนิเทศ โฮมรูม ป้ายสารสนเทศ นิทรรศการ บรรยาย อภิปราย ทัศนศึกษา ฯลฯ

3. บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

(Counseling Service)

เพื่อให้สามารถตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลและให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม

4. บริการจัดวางตัวบุคคล

(Placement Service)

เพื่อจัดเด็กให้ได้รับความช่วยเหลือแก้ไขหรือมีการฝึกฝนรับประสบการณ์ที่เหมาะสมแก่กรณี

จัดทุนการศึกษา สอนซ่อมเสริม จัดเด็กเข้าโครงการเรียนและชุมนุมต่างๆ จัดบริการฝึกงานและหางาน ฯลฯ

5. บริการติดตามผลและประเทินผล

(Follow-up Service)

เพื่อติดตามผลงานแต่ละด้านและพัฒนาการของนักเรียน

หลังจากที่แฟรค์ พาร์สันส์ ได้อบรมครูแนะแนวไปแล้วและบางโรงเรียนก็ยุบเลิกตำแหน่งนี้ไป เมืองบอสตันจึงตั้งคณะกรรมการเพื่อสำรวจงานแนะแนวขึ้นในปี ค.ศ.1910โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรื้อฟื้นกิจการแนะแนวอาชีพโรงเรียน หลุย พี.แนช (Louis P.nash) ซึ่งเป็นกรรมการท่านหนึ่งได้เนอแนะให้โรงเรียนในระดับมัธยมเพิ่มหลักสูตรเกี่ยวกับความรู้เรื่องอาชีพให้กับนักเรียนที่ยังลังเลใจในการเลือกอาชีพ และนักเรียนทุกคนควรได้ศึกษาเรียนรู้อาชีพประเภทต่างๆ จากการฟังบรรยายของผู้ชำนาญในอาชีพนั้นๆ จากเอกสาร และจากการพาไปชมกิจการของบริษัทธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆเพื่อให้มีความรู้เรื่องอาชีพอย่างกว้างขวางอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาเลือกเฟ้นอาชีพของนักเรียน จากข้อเสนอแนะนี้ทำให้โรงเรียนในเมืองบอสตันตื่นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

สถานที่ได้รับการยอมรับว่ามีการจัดบริการแนะแนวที่ตรงตามหลักวิชาแห่งแรก คือ California School of mechanical Arts ซึ่งเป็นโรงเรียนสายอาชีพช่างกลตั้งอยู่เมือง San Francisco โดยที่ในปี ค.ศ.1895 โรงเรียนได้เปิดสอนอาชีพหลายแขนง แล้วจัดให้นักเรียนทดลองเรียนอาชีพหลายๆอาชีพ เพื่อจะได้รับทราบถึงความถนัดของตน นอกจากนี้มีการพิจารณาถึงคุณสมบัติของนักเรียน มีการให้การแนะนำและหางานให้ทำ รวมทั้งมีการติดตามดูผลงานของนักเรียนเก่าที่ออกไปแล้ว การจัดด้วยวิธีการเช่นนี้ไม่เป็นที่แพร่หลาย คงทำอยู่เพียงโรงเรียนเดียว จนกระทั่งปี ค.ศ.1902 จึงมีโรงเรียนรัฐบาลในมลรัฐเมสสาซูเสท และวิสคอนซิน ได้จัดบริการทำนองนี้ขึ้นมาอีก

ในระยะนี้มีครูในโรงเรียนหลายแห่งในหลายมลรัฐเริ่มมีการตื่นตัวที่จะช่วยเหลือนักเรียนของตนมากขึ้น เช่นในปี ค.ศ.1306 อีลิ ดับลิว วีเวอร์ (Eli W.Weaver) ครูโรงเรียนมัธยมที่โรงเรียนบูร์คลีน (Brooklyn) ในนครนิวยอร์ค ได้ริเริ่มให้สมาคมครู โรงเรียนมัธยมเป็นผู้ช่วยเหลือทางการเงินให้แก่การจัดตั้งโครงการแนะแนวและการจัดหางานให้แก่นักเรียนหนุ่มสาวในนครนิวยอร์ค นอกจากนี้ยังได้เสนอให้มีที่ปรึกษาทางอาชีพขึ้นในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้รับการแนะแนวเกี่ยวกับอาชีพ รวมทั้งช่วยเหลือนักเรียนให้ติดต่อกับนายจ้างเพื่อหางานทำทั้งในระหว่างเรียนและหลังจากเรียนจบแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการนิเทศการทำงานของนักเรียนเหล่านี้ เพื่อช่วยเหลือต่อไปอีกด้วย เจสสี บี.เดวิด (Jesse B.David) ครูชั้น 11เมืองแกรนด์ ราบิดส์ มลรัฐมิชิแกน ได้ใช้ช่วงเวลาจากการสอนให้การแนะแนวอาชีพของโรงเรียนทั้งหมดในเมืองนั้นซึ่งมีผลทำให้งานแนะแนวอาชีพทั้งหมดของโรงเรียนทั้งหมดในเมืองนี้ขยายกว้างขวางขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง

ประวัติการแนะแนว

ปัจจุบันสภาพสังคมของสังคมไทยได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วิทยาการและเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบถึงคนในชาติรวมถึงเยาวชน ในการจัดการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรนั้น ปัจจัยที่สำคัญยิ่ง คือการแนะแนว ทั้งนี้เพราะการแนะแนวเป็นกระบวนการช่วยเหลือนักเรียนให้รู้จักตนเองในด้านต่างๆพัฒนาตามศักยภาพที่มีอยู่ เพื่อดำรงชีวิตให้อู่ได้อย่างมีความสุข

ประวัติการแนะแนว ในสหรัฐอเมริกา

แฟรงค์ พาร์สันส์ ได้เขียนหลักการที่สำคัญ 3 ประการของการแนะแนวอาชีพไว้ในหนังสือการเลือกอาชีพ (Choosing a Vocation) ดังนี้

1.วิเคราะห์ตนเอง ผู้แนะแนวจะช่วยให้ผู้รับการแนะแนวได้เข้าถึงคุณสมบัติของตนอย่างแจ่มแจ้ง ทั้งจุดดีจุดเด่นและจุดอ่อนแอของตน

2.วิเคราะห์งาน ผู้แนะแนวช่วยให้ผู้รับการแนะแนวได้มีความรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับลักษณะอาชีพประเภทต่างๆ โอกาสที่จะเข้าทำงาน ตลอดจนคุณสมบัติต่างๆที่จะต้องเตรียมให้พร้อมก่อนเข้าทำงาน รวมทั้งปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในชีวิตนั้นๆ

3.การใช้วิจารณญานของตนเลือกอาชีพ ผู้แนะแนวจะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือโดยใช้ความรู้ความเข้าใจทั้งสองประการนั้นประกอบกัน

การแนะแนวในโรงเรียน

การแนะแนวในโรงเรียนระยะนี้ยังไม่มีรูปแบบหรือหลักการที่เด่นชัด จนกระทั่ง ค.ศ.1908 แฟรงค์ พาร์สันส์ (Frank Parsons) ได้จัดตั้งสำนักงานอาชีพ (The Vocational Bureau of Boston) ขึ้นที่เมืองบอสตัน มลรัฐเมสสาซูเสท โดยได้รับการอุปถัมภ์ทางการเงินจากมิสซิสควีนซิ (Mrs.Quincy A.Shaw) ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ทที่ร่ำรวยสำนักงานการอาชีพนี้มีวัตถุประสงค์จะพัฒนาเยาวชนให้เจริญงอกงามขึ้นทุกๆด้านจึงได้จัดบริการต่างๆขึ้นหลายบริการ สำหรับบริการที่สำคัญก็คือบริการเลือกอาชีพ ให้บริการแก่เยาวชน โดยยึดถือความสนใจและความถนัดเป็นสิ่งสำคัญในการแนะแนว

1.งานแนะแนวอาชีพเป็นงานแนะแนวที่นักสังคมสงเคราะห์ริเริ่มทำขึ้นก่อนและทำในชุมชน แฟรงค์ พาร์สัน เป็นผู้ริเริ่มนำเอกสารแนะแนวอาชีพเข้าไปสู่สถาบันการศึกษารวมทั้งได้วางหลักการและวิธีการปฏิบัติไว้ให้เป็นแบบอย่างด้วย ทั้งนี้โดยฝึกอบรมครูแนะแนว (teacher counselor) ขึ้นในปี ค.ศ.1909 เพื่อทำหน้าที่แนะแนวอาชีพแก่นักเรียนในโรงเรียนทั้งในระดับประถมละมัธยมในบอสตัน แต่ตำแหน่งของครูแนะแนวในหลายโรงเรียนต้องยุบเลิกไปในเวลาต่อมาเนื่องจากต้องรับภาระงานสอนเท่าเดิมและไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินเลย

2.แฟรงค์ พาร์สัน ได้ช้กลวิธีต่างๆที่อาศัยหลักของวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแนะแนวเช่น การกำหนดงานให้ทำ การใช้มาตราส่วนประมาณค่า การสัมภาษณ์เป็นต้น และไม่ยอมใช้วิธีการดูลักษณะและขนาดของกะโหลกศีรษะ(Phrenology)หรือวิธีการที่เชื่อถือไม่ได้ชนิดอื่นๆทั้งๆที่ในสมัยนั้นคนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า ขนาดของกะโลกศีรษะจะบอกให้ทราบถึงขนาดของสมองและชี้ให้เห็นถึงความโง่ความฉลาดของคนหรือความเหมาะสมในการประกอบอาชีพได้ รวมทั้งความเชื่อเกี่ยวกับดวงชะตา(Astrology)ลายมือ(Palmistry)การพยากรณ์โดยใช้กราฟ(Graphology)และอื่นๆซึ่งเป็นการแนะแนวเทียม(Fake Guidance)

3.แฟรงค์ พาร์สัน ได้วิเคราะห์ปัญหาของการแนะแนวอาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นความคิดที่ก้าวหน้ามากในระยะนั้น นักแนะแนวในสมัยต่อๆมาเรียกว่าขั้นทั้งหกในความก้าวหน้าทางอาชีพของบุคคล(Six steps the Vocational Progress of Indivdual)ได้แก่

ก.การวางรากฐานอย่างกว้างๆเกี่ยวกับประสบการณ์ในอาชีพต่างๆ

ข.การศึกษาช่องทางหรือโอกาสเกี่ยวกับอาชีพ

ค.การเลือกอาชีพ

ง.การเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ

จ.การเข้าทำงาน

ฉ.การหาความก้าวหน้าในการทำงานและการปรับตัวให้เข้ากับงาน